FUND

บลจ.อีสท์สปริง มองหุ้นกลุ่มสินค้า Luxury ฟื้นตัว ชูกองทุน T-Premium Brand รับแรงหนุนกำลังซื้อจากจีน

นางสาวดารบุษป์ ปภาพจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด  หรือ บลจ.อีสท์สปริง เปิดเผยว่า หลังจากที่ในช่วงต้นปี 2566 จีนได้เปิดประเทศและผ่อนคลายมาตรการโควิดเป็นศูนย์ ส่งผลให้กำลังซื้อของคนจีนกับมาคึกคักอีกครั้ง โดยเฉพาะกลุ่มของสินค้าประเภทสินค้าฟุ่มเฟือย (Luxury)  ซึ่งจากการเปิดเผยข้อมูลของ Bain & Company บริษัทที่ปรึกษาระดับโลกในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา คาดการณ์การบริโภคกลุ่มสินค้ากลุ่ม Personal Luxury จะกลับมาฟื้นตัวได้ในปี 2566 เนื่องจากห้างสรรพสินค้าและร้านค้าปลอดภาษี (Duty Free) เริ่มกลับมาเปิดอีกครั้ง ขณะที่พื้นฐานการบริโภคของคนจีนไม่เปลี่ยนแปลง และจีนยังคงเป็นประเทศที่เติบโตเร็ว มีประชากรรายได้ปานกลาง-สูงจำนวนมากขึ้น และคาดว่าจำนวนประชากรเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าภายในปี 2573 และคาดว่าการบริโภคกลุ่มสินค้าเหล่านี้จะกลับมาฟื้นตัวได้เทียบเท่าระดับเดียวกันกับช่วงก่อนเกิดโควิดในช่วงกลางปี  2566 นี้

บลจ.อีสท์สปริง  ประเมินว่ากลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย (Luxury) ค่อนข้างมีความน่าสนใจนอกเหนือจากความต้องการของคนจีนจากการเปิดประเทศแล้ว กลุ่มสินค้ากลุ่มนี้เน้นการสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีความสามารถในการกำหนดราคา รวมถึงทนทานต่อภาวะเงินเฟ้อได้ดี ซึ่งหากดูจากผลประกอบการในช่วงไตรมาส 4 ที่ผ่านมาของ MSCI World Index ในกลุ่มของ Consumer discretionary ซึ่งเป็นกลุ่มของสินค้าฟุ่มเฟือย จะพบว่าทั้งยอดขายเติบโต11.69% และกำไรเติบโต 22.27% ซึ่งถือว่าค่อนข้างเติบโตได้โดดเด่น เมื่อเทียบกับ การเติบโตของบริษัทใน ishare MSCI World Index ที่ยอดขายเติบโตเพียง 7.71% และกำไรลดลง 0.78% (ที่มา Bloomberg  :  ณ วันที่ 3 มีนาคม 2566)

ทั้งนี้คาดการณ์การเติบโตของกำไรต่อหุ้น (EPS Growth) ของ MSCI World Index คาดว่าในปี 2567 เติบโต 8.37% และปี 2568 เติบโต 6.95% ขณะที่ในส่วนของ MSCI Consumer discretionary Index ในปี 2567 คาดว่าจะเติบโต 16.85% และ 2568 เติบโต 14.57% ซึ่งสูงกว่า 2 เท่าของ MSCI World Index (ที่มา Bloomberg  :  ณ วันที่ 3 มีนาคม 2566)

นางสาวดารบุษป์ กล่าวว่า ปัจจุบันบลจ.อีสท์สปริงมีกองทุนภายใต้บริหารจัดการคือ กองทุนเปิดธนชาตพรีเมียม

แบรนดส์ฟันด์ (T-PREMIUM BRAND) ที่มีนโยบายลงทุนในกองทุนหลัก PICTET FUNDS (LUX ) – PREMIUM BRANDS ไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ โดยกองทุนหลักจะเน้นลงทุนในตราสารทุนเกี่ยวกับสินค้าบริการระดับพรีเมียม บริหารจัดการโดย Pictet Funds (Europe) S.A มีความเชี่ยวชาญในการลงทุนแบบ Thematic มากกว่า 26 ปี มีรูปแบบการลงทุนกว่า 15 ธีม โดยกองทุนหลักมุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวสูงกว่าดัชนี MSCI World Consumer Discretionary Index-ND  ซึ่งกองทุนหลักเน้นลงทุนในหุ้นกลุ่ม Premium Brands ในหมวดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Luxury brands อาทิ LVMH และ Hermes, Sport Apparel อย่าง NIKE และ Adidas, เครื่องสำอาง เช่น L’Oreal , การท่องเที่ยว เช่น Marriott International และ Hilton Worldwide

ปัจจุบันพอร์ตการลงทุนของกองทุนหลัก PICTET FUNDS (LUX) – PREMIUM BRANDS ประมาณ 90% ลงทุนในหมวดแบรนด์หรู 36.98%  กีฬา 16.22% อาหารและเครื่องดื่ม 13.26% เครื่องสำอาง 12.27% การท่องเที่ยว 11.54%  ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในสหรัฐอเมริกา 44.84% ฝรั่งเศส 22.6% อิตาลี 10.03%  ขณะที่สัดส่วนการลงทุน 10 อันดับแรกประกอบด้วย American Express Co 4.95% Cie Financiere Richemont-Reg 4.70% Nike Inc-CI B 4.69% L’Oreal 4.64% Ferrari Nv 4.62% Lvmh Moet Hennessy Louis Vui 4.61% Visa Inc-Class A Shares 4.45% Marriott International -Cl A 4.02% Hilton Worldwide Holdings In 3.85% และ Intercontinental Hotels Group 3.67%  (ที่มา Pictet  ณ วันที่ 31 มกราคม 2566)

“กองทุนกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยเริ่มกลับมาน่าสนใจในปีนี้ ซึ่งกองทุน T-Premium Brand ถือเป็นอีกหนึ่งกองทุนที่ตอบโจทย์การฟื้นตัวของสินค้าฟุ่มเฟือย รวมถึงความสามารถในการตั้งราคาได้ดีทำให้สามารถรับมือจากเงินเฟ้อได้ สำหรับนักลงทุนที่กำลังมองหากองทุนที่ได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย กองทุนนี้ถือว่าเป็นกองทุนทีมีความน่าสนใจและได้ประโยชน์จากความต้องการของคนจีนที่เพิ่มขึ้นจากการเปิดประเทศ” นางสาวดารบุษป์ กล่าว

ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.eastspring.co.th หรือโทร 1725 ในวันและเวลาทำการ หรือผ่านช่องทางการขายของบริษัทฯ หรือผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนที่ได้รับการแต่งตั้ง และผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนการตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต โดยกองทุนมีความเสี่ยงที่สำคัญ เช่น ความเสี่ยงจากการลงทุนในต่างประเทศ และความเสี่ยงจากสภาพคล่อง

ใส่ความเห็น