แอนท์กรุ๊ปเผยรายงานความยั่งยืนประจำปี 2565 พร้อมอัปเดต ความคืบหน้า การดำเนินการตามกลยุทธ์ ESG เมืองหางโจว, ประเทศจีน, 13 มิถุนายน 2566 – แอนท์กรุ๊ป (Ant Group) เผยแพร่รายงานความยั่งยืนประจำปี 2565 โดยให้ความสำคัญกับความคืบหน้าของกลยุทธ์ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ในปี 2565
แอนท์กรุ๊ปลงทุน 20.46 พันล้านหยวน (ประมาณ 2.89 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในการทำวิจัยและพัฒนา (R&D) ด้านนวัตกรรมทางเทคโนโลยีในปี 2565 ซึ่งลงทุนเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าของปี 2562 การลงทุนดังกล่าวถูกจัดสรรตามการสร้างนวัตกรรมสำคัญ เช่น
ฐานข้อมูลแบบกระจายและโครงสร้างพื้นฐานการประมวลผล, บล็อกเชน, การประมวลผลความเป็นส่วนตัว, ความปลอดภัยของข้อมูลและเครือข่าย, กรีนคอมพิวติ้ง (Green Computing), และปัญญาประดิษฐ์ (AI)
“ตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทมา เรามุ่งมั่นที่จะใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาของโลกที่ชุมชนต่าง ๆ ต้องเผชิญมาโดยตลอด เราเชื่อว่าการสร้างทั้งคุณค่าเชิงพาณิชย์และคุณค่าทางสังคมเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยั่งยืนของบริษัท” เอริค จิง ประธานกรรมการบริหารและซีอีโอของแอนท์กรุ๊ป เขียนคำปราศรัยในรายงาน
ตัวอย่างเช่น การให้ความสำคัญในหัวข้อการพัฒนาสู่การเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในรายงานความยั่งยืน การนำเทคโนโลยีกรีนคอมพิวติ้ง (Green Computing) มาใช้ของแอนท์กรุ๊ป โดยมุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานของดาต้าเซ็นเตอร์ให้เหมาะสม
และการฝึกโมเดล AI ช่วยลดความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ที่มีผลแผ่รังสีเท่ากันกับก๊าซเรือนกระจกถึง 62,127.53 ตัน (เท่ากับปริมาณก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์) การลดลงเหล่านี้มีผลกับดาต้าเซ็นเตอร์ในรูปแบบให้เช่าของแอนท์กรุ๊ปและทำให้การปล่อยก๊าซคาร์บอนลดลงในห่วงโซ่มูลค่าปี 2565
ตามโร้ดแมปการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนของแอนท์กรุ๊ป บริษัทจะทำการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในห่วงโซ่อุปทานทั้งหมดของบริษัทให้เสร็จสมบูรณ์ภายในปี 2568 ทั้งนี้ ในปี 2565
แอนท์กรุ๊ปประสบความสำเร็จในการดำเนินงานด้านความเป็นกลางทางคาร์บอนอีกครั้ง (ขอบเขตที่ 1 และ 2) เป็นปีที่สองติดต่อกัน ซึ่งเป็นอีกก้าวหนึ่งในการปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาที่จะบรรลุการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ทั้งขอบเขตที่ 1, 2 และ 3 ภายในปี 2573
แอนท์กรุ๊ปนำเสนอกรอบการประเมินผลและการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ (TCFD) เป็นครั้งแรกในรายงานความยั่งยืนปี 2565 ช่วยให้บริษัทสามารถระบุและจัดการความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ รายงานความยั่งยืนประจำปี 2565 ยังระบุพื้นฐานหลักของการปฏิบัติงานสำหรับประเด็นสำคัญที่ได้ระบุไว้ทั้งหมด และให้การรับรองโดยบุคคลที่สาม ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพเหล่านี้จะช่วยให้บริษัทติดตามความคืบหน้า รักษาความสม่ำเสมอ ตรวจสอบและเปรียบเทียบสถิติด้านความยั่งยืนของบริษัทได้
“ตลอดหลายปีที่ผ่านมา เราค่อย ๆ สำรวจเส้นทางการเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการปล่อยคาร์บอนต่ำซึ่งขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและแพลตฟอร์ม อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความท้าทายสำคัญรออยู่ข้างหน้าก่อนที่เราจะบรรลุเป้าหมายคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2573
เราจำเป็นต้องทุ่มเทความพยายามและทรัพยากรให้มากขึ้น รวมทั้งทำแผนระยะยาว” อี้เจีย เป็ง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายความยั่งยืนของแอนท์กรุ๊ป ระบุไว้ในรายงาน “เรามุ่งมั่นที่จะบรรลุการดำเนินงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมภายในองค์กรของเราเอง และมีส่วนร่วมกับฐานผู้ใช้ที่กว้างขวาง รวมถึงเครือข่ายพันธมิตรของเราตลอดจนห่วงโซ่มูลค่าเพื่ออนาคตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”
ในปี 2565 แอนท์กรุ๊ปและบริษัทในเครือเช่น MYbank ได้มีส่วนร่วมในการกำหนดและเผยแพร่ มาตรฐานการจัดอันดับความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับเอสเอ็มอี (SMEs) ทั่วประเทศฉบับแรก
ความร่วมมือดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สถาบันการเงินสามารถประเมินการดำเนินงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการสนับสนุนกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของเอสเอ็มอี รวมทั้งเสนอสิ่งจูงใจ เช่น สินเชื่อสีเขียว (green loans) ภายในสิ้นปี 2565 MYbank
จัดอันดับความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในกลุ่มเอสเอ็มอีจำนวน 6.23 ล้านรายได้สำเร็จตามเกณฑ์สะสม นอกจากนี้ยังให้สินเชื่อสีเขียวแก่เอสเอ็มอี จำนวน 420,000 รายโดยมีอัตราดอกเบี้ยพิเศษเป็นสิ่งจูงใจ
ในปี 2565 แอนท์กรุ๊ปได้มอบหมายประเด็นสำคัญ 19 รายการซึ่งมีรายละเอียดอยู่ในรายงานความยั่งยืนให้กับผู้บริหารและผู้นำด้านธุรกิจซึ่งมีหน้าที่กำหนดวัตถุประสงค์ ผลลัพธ์หลักที่ต้องการ (OKRs) และวางแผนการดำเนินการในระยะสามปี
ตัวอย่างเช่น การเติบโตอย่างทั่วถึงของธุรกิจเอสเอ็มอี บริษัทได้เปลี่ยนจากตัวชี้วัดแบบเดิม เช่น จำนวนผู้ใช้หรือจำนวนผู้ใช้รายวัน (DAU) ที่บริษัทอินเทอร์เน็ตมักใช้เป็นตัวชี้วัด หันไปมุ่งเน้นที่การปรับปรุงการเข้าถึงบริการสำหรับธุรกิจเอสเอ็มอีที่ก่อนหน้านี้ถูกลิดรอนโอกาสดังกล่าวด้วยวิธีการอื่น นอกจากนี้ยังใช้การลดต้นทุนการดำเนินงานและการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานเป็นตัวชี้วัดอีกด้วย
“เราเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าโอกาสการเติบโตของบริษัทในอนาคตมีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับความสามารถในด้านการช่วยแก้ปัญหาสังคม” อี้เจีย เป็ง กล่าวเสริม “ดังนั้น การสร้างคุณค่าเชิงพาณิชย์และสังคมแบบบูรณาการจึงเป็นหัวใจสำคัญของกลยุทธ์ ESG ของเรา และช่วยให้เราสามารถระบุโอกาสทางนวัตกรรม และผลักดันการเติบโตอย่างยั่งยืนของเราในอนาคตได้”
ในประเด็นความเท่าเทียมทางดิจิทัล (Digital Inclusion) แอนท์กรุ๊ปและบริษัทในเครืออย่าง MYbank ได้ให้บริการด้านการชำระเงินและบริการทางการเงินแบบครอบคลุมแก่เอสเอ็มอีจำนวน 86 ล้านราย (รวมถึงผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็ก) ตามเกณฑ์สะสม
ทำให้กระบวนการมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องเพื่อบรรลุเป้าหมายในการให้บริการเอสเอ็มอี 100 ล้านรายภายในปี 2573 โดยในปี 2565 ปริมาณการทำธุรกรรมเฉลี่ยผ่านมินิโปรแกรมของผู้ค้าบนแพลตฟอร์มอาลีเพย์เพิ่มขึ้น 49.2%
เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า แอนท์กรุ๊ปช่วยสนับสนุนให้ลูกค้า 260 ล้านคนเข้าถึงบริการของพันธมิตรทั่วโลกได้ และยังทำให้เอสเอ็มอีเข้าร่วมการค้าระดับโลกได้ง่ายขึ้นผ่านการชำระเงินข้ามพรมแดนและบริการทางการเงินของบริษัท
ในปี 2565 แอนท์กรุ๊ปสนับสนุนความมุ่งมั่นที่จะกำกับดูแลกิจการด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการพิเศษ 2 ชุด ได้แก่ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค และคณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืน ESG
การแต่งตั้งคณะกรรมการเพิ่มช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับโครงสร้างการกำกับดูแลของบริษัท โดยโอเพนส์แพลตฟอร์มของอาลีเพย์ได้ร่วมมือกับผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์อิสระ (ISV) เพื่อสร้างโซลูชันเฉพาะอุตสาหกรรมกว่า 400 รายการ
ในการช่วยเหลือผู้ค้าจากอุตสาหกรรมต่าง ๆ ให้เติบโตและได้ปรับปรุงประสิทธิภาพ เพื่อแก้ไขปัญหาสำคัญของอุตสาหกรรม โดยโอเพนส์แพลตฟอร์มด้านดิจิทัลไฟแนนซ์ของแอนท์ (Ant Digital Finance) ได้ช่วยเหลือพันธมิตรในฝั่งสถาบันทางการเงินกว่า 150 รายในการให้บริการแก่ผู้ใช้ประมาณหนึ่งล้านคนต่อปี
ในปี 2565 แอนท์กรุ๊ปบริจาคเพื่อการกุศล 790 ล้านหยวน (ประมาณ 111.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ทำให้ยอดสะสมของการใช้จ่ายเพื่อการกุศลเป็น 2.7 พันล้านหยวน(ประมาณ 381.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ตั้งแต่ปี 2562 หนึ่งในหลาย ๆ โครงการ “ไซเบอร์ มู่หลาน” (Cyber Mulan)
คือโปรแกรมที่ช่วยปลุกพลังในการพัฒนาความสามารถของผู้หญิงใน 3 ด้านหลัก ได้แก่ การคุ้มครองขั้นพื้นฐาน การสนับสนุนการจ้างงานและอาชีพ และโอกาสในการเติบโตที่หลากหลาย โดยมอบกรมธรรม์ประกันภัย 3.75 ล้านฉบับ
แก่ผู้หญิงในพื้นที่ชนบท เสนอการฝึกอบรมงานและโอกาสการจ้างงานแบบดิจิทัลให้แก่ผู้หญิง 10,000 คน ขยายสินเชื่อปลอดดอกเบี้ยหรือดอกเบี้ยต่ำให้กับผู้ประกอบการสตรีกว่า 1 ล้านคน และสนับสนุนทีมฟุตบอลหญิงในชนบท 70 ทีม
ตั้งแต่ปี 2560 แอนท์กรุ๊ปได้เผยแพร่รายงานความยั่งยืนประจำปีตามมาตรฐานองค์การแห่งความริเริ่มว่าด้วยการรายงานสากล (Global Reporting Initiative) สามารถอ่านรายงานได้บนเว็บไซต์แอนท์กรุ๊ป (ขณะนี้มีให้บริการเฉพาะฉบับภาษาจีน ฉบับภาษาอังกฤษจะเผยแพร่ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า)