บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด เผยภาพรวมเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวในไตรมาส 3/2023 แนะกระจายการลงทุนตราสารหนี้ทั่วโลก หุ้นกลุ่ม ประเทศพัฒนาแล้ว
นางสาววรรณจันทร์ อึ้งถาวร รองกรรมการผู้จัดการ สายการลงทุน บลจ. ยูโอบี ได้ให้มุมมองว่า เศรษฐกิจหลักของโลกอย่างสหรัฐฯ มีแนวโน้มชะลอตัวลดลงน้อยกว่าที่คาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคบริการ และการบริโภคที่ยังคงขยายตัวได้
ท่ามกลางความกังวลเศรษฐกิจชะลอตัว ซึ่งเป็นผลมาจากภาคการจ้างงานที่ยังดี และอัตราการเติบโตของค่าแรงที่ยังคงเติบโต นอกจากนี้ระดับเงินออมที่อยู่ในระดับสูงก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ดีกว่าคาดถึงแม้ธนาคารกลางจะใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดในช่วงที่ผ่านมา
ตลาดหุ้นในประเทศพัฒนาแล้วปรับสูงขึ้น ในไตรมาสสองที่ผ่านมา เป็นผลมาจากความกังวลจากประเด็นการล้มละลายของ Regional Bank ในสหรัฐฯ ที่คลี่คลายรวมถึงกระแสการตื่นตัวการลงทุนในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ Robotics & AI ซึ่งทำให้ให้หุ้นกลุ่มเติบโต (Growth Stock) ปรับตัวได้อย่างโดดเด่น
อย่างไรก็ดี ในช่วงท้ายไตรมาส ตลาดหุ้นมีการพักฐานหลังจากธนาคารกลางสหรัฐส่งสัญญาณการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติม ในขณะที่ดัชนี PMI ภาคการผลิตอยู่ในระดับต่ำกว่า 50 ต่อเนื่อง ส่งผลให้ตลาดกลับมากังวลเรื่องเศรษฐกิจชะลอตัวอีกครั้ง
สำหรับตลาดหุ้นประเทศเอเชียไม่รวมญี่ปุ่นนั้น ปรับลดลงในช่วงที่ผ่านมาหลังข่าวดีเกี่ยวกับการเปิดประเทศเริ่มหมดไป ประกอบกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและภาคอสังหาริมทรัพย์ในจีนที่ช้ากว่าคาด
ทั้งนี้ ปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดในครึ่งปีหลังคือ
1) อัตราเงินเฟ้อที่แม้ว่าจะปรับตัวลดลง แต่มีโอกาสที่จะคงอยู่ในระดับสูงโดยอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน มีแนวโน้มปรับตัวลดลงช้ากว่าที่คาด เป็นผลมาจากภาคการจ้างงานที่ยังคงตึงตัวอยู่
2) ความสอดคล้องกันระหว่างการดำเนินนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐที่ต้องสร้างสมดุลระหว่างการควบคุมอัตราเงินเฟ้อและการบริหารความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย
3) กำไรบริษัทจดทะเบียน ที่อาจได้รับผลจากนโยบายการเงินและสินเชื่อที่เข้มงวดมากขึ้น ซึ่งอาจจะนำไปสู่การปรับคาดการณ์กำไรบริษัทจดทะเบียนลงได้อีก
เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2/2023 ยังคงอยู่ในทิศทางของการฟื้นตัว ซึ่งมาจากกิจกรรมภาคการบริการที่ขยายตัวต่อเนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งภายในประเทศและต่างชาติที่เพิ่มขึ้น เอื้อต่อการบริโภคภาคเอกชนและตลาดแรงงาน
อย่างไรก็ตาม ภาคการส่งออกยังคงปรับตัวลดลงเนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ทำให้อุปสงค์จากต่างประเทศลดลง และสอดคล้องกับภาคอุตสาหกรรมที่แม้ว่ายังอยู่ในเกณฑ์ขยายตัวแต่โมเมนตัมอาจเริ่มชะลอตัวลง ซึ่งสะท้อนจากตัวเลข Manufacturing PMI ที่ปรับตัวลดลงจากระดับ 59.9 ในเดือนเมษายน เป็น 58.6 ในเดือนพฤษภาคม
ในขณะที่การลงทุนหรือการใช้จ่ายของภาครัฐที่ชะลอตัวในช่วงการเปลี่ยนผ่านรัฐบาล เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ด้านเงินเฟ้อของไทยยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำ ซึ่งสะท้อนจากตัวเลข Core CPI MoM +0.06% ในเดือนพฤษภาคม
เราจึงคาดว่าการดำเนินนโยบายทางการเงินของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่ยังคงมีความยืดหยุ่นมากขึ้น และสามารถทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายแบบค่อยไปค่อยไปตามตัวเลขเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจริง นอกจากนี้แรงกดดันจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อรักษาเสภียรภาพเงินบาทมีน้อยลง เนื่องจากวัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ใกล้ถึงจุดสิ้นสุดแล้ว
จากปัจจัยดังกล่าวข้างต้น บลจ. ยูโอบี จึงมีมุมมองว่า การเติบโตของเศรษฐกิจในกรณีพื้นฐาน (Base Case) จะเป็นในลักษณะที่มีการชะลอตัวแบบไม่รุนแรง (Soft Landing) ซึ่งการบริหารความเสี่ยงท่ามกลางสภาวะที่มีความไม่แน่นอนเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด และนักลงทุนไม่ควรที่จะกลัวการลงทุนมากไป
อีกทั้งควรเน้นการคัดสรรหลักทรัพย์ที่จะลงทุน และการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนควบคู่กันไปด้วย ทั้งนี้ บลจ. ยูโอบี แนะนำให้ลดเงินสด และเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชนทั่วโลก เพื่อโอกาสรับผลตอบแทนในตราสารหนี้ที่น่าสนใจในช่วงวัฏจักรการขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่กำลังจะผ่านจุดสูงสุด
โดยเน้นการลงทุนในตราสารหนี้ระดับ Investment Grade ที่มีคุณภาพเพื่อลดความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ในระยะข้างหน้าที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวสูง และปรับน้ำหนักการลงทุนใน หุ้นกลุ่ม ประเทศพัฒนาแล้วเพิ่มขึ้นเล็กน้อย หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจออกมาดีกว่าคาด
ในขณะเดียวกันได้ปรับลดน้ำหนักการลงทุนใน หุ้นกลุ่ม ประเทศในฝั่งเอเชีย ที่แม้ว่ามีมูลค่าที่น่าสนใจแต่ตลาดได้รับรู้ปัจจัยบวกจากการเปิดประเทศไปแล้ว และการฟื้นตัวในระยะข้างหน้ายังต้องเผชิญกับความท้าทายที่มากขึ้น
นายกุลฉัตร จันทวิมล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส สายพัฒนาธุรกิจ บลจ. ยูโอบี ได้ให้ความเห็นต่อการจัดพอร์ตการลงทุนว่า สำหรับตลาดในประเทศที่พัฒนาแล้ว เรามองว่านักลงทุนได้เปลี่ยนโฟกัสจากความเสี่ยงในการดำเนินนโยบายทางการเงินมายังความเสี่ยงจากเศรษฐกิจถดถอย (Recession)
และยังมีโอกาสที่นักวิเคราะห์จะปรับคาดการณ์กำไรของบริษัทจดทะเบียนลงได้อีก (Earnings Downgrade) ดังนั้นการลงทุนต้องเน้นไปยังกลุ่มที่ความสามารถในการสร้างกระแสเงินสดและกำไรที่สม่ำเสมอ (Quality & Visibility of Earnings) และมีพื้นฐานรองรับในการเติบโตที่ชัดเจน (Secular Growth)
อย่างเช่น กลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า ผ่านกองทุน UEV-M ที่ลงทุนผ่านกองทุนหลักที่มีนโยบายลงทุนในบริษัทที่มีธุรกิจเกี่ยวข้องกับการผลิตแบตเตอรี่และรถยนต์ไฟฟ้า ตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำทั่วโลก
รวมถึงการลงทุนในกองทุน UBOT ที่ลงทุนผ่านกองทุนหลักที่มีนโยบายเน้นลงทุนในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ ที่ได้รับอานิสงส์จากกระแส ChatGPT ที่กระตุ้นให้เกิดการลงทุนเพื่อพัฒนา AI
นอกจากนี้ ในภาพระยะกลางเราเชื่อว่าหากเกิด Recession ขึ้น ในช่วงครึ่งปีหลังตลาดจะค่อยๆ Priced In ไปยังวัฏจักรเศรษฐกิจการฟื้นตัวในระยะถัดไป และเปิดโอกาสให้หุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นในกลุ่มที่กว้างขึ้นได้ โดยแนะนำให้ลงทุนในกลุ่ม Mid-Small Cap หรือ Cyclical Play ที่ยัง Laggard และมี Valuation ที่น่าสนใจ
สำหรับนักลงทุนที่ต้องการลดความเสี่ยงของตลาดหรือต้องลงทุนในระหว่างรอจังหวะการลงทุน บลจ. ยูโอบี แนะนำ กองทุนรวมตลาดเงิน คือ กองทุนเปิด ไทย แคช แมเนจเม้นท์ (TCMF-M) ระดับความเสี่ยง 1 ที่มีนโยบายเน้นลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารหนี้ และ/หรือเงินฝาก หรือตราสารหนี้เทียบเท่าเงินฝาก โดยจะลงทุนในตราสารทั้งภาครัฐ และ/หรือภาครัฐวิสาหกิจ ที่มีความมั่นคงและมีสภาพคล่องสูงเป็นหลัก
และหากสามารถรับความเสี่ยงและต้องการกระแสรายได้สม่ำเสมอ จากการลงทุนตราสารหนี้ทั่วโลก แนะนำลงทุนในกองทุนเปิด ยูไนเต็ด อินคัม ฟันด์ (UINC) ระดับความเสี่ยง 5 กองทุนลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ ชื่อ JPM Income Fund C (acc) – USD (กองทุนหลัก) เพียงกองทุนเดียว
โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ซึ่งกองทุนหลักมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกระแสรายได้อย่างสม่ำเสมอผ่านการลงทุนในตราสารหนี้ โดยจะกระจายการลงทุนไปยังตราสารหนี้ประเภทต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วโลก กองทุนมีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ หรือ
และกองทุนเปิด ยูไนเต็ด โกลบอลอินคัม สตราทีจิค บอนด์ ฟันด์ (UGIS) ระดับความเสี่ยง 6 กองทุนลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ ชื่อ PIMCO GIS Income Fund (Class I) (กองทุนหลัก) เพียงกองทุนเดียว
โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ซึ่งกองทุนหลักมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกระแสรายได้ในระดับสูงโดยการบริหารการลงทุนอย่างรอบคอบ และมีวัตถุประสงค์ในการสร้างการเติบโตของเงินลงทุนในระยะยาว มีหลักการกระจายการลงทุนไปในตราสารหนี้ประเภทต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วโลก กองทุนมีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ
สำหรับท่านที่หวังผลตอบแทนในระยะยาวจากการลงทุนในหุ้น แนะนำลงทุนในหุ้นทั่วโลกในอุตสาหกรรมที่ได้รับปัจจัยบวกจากการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ได้แก่ กองทุนเปิด ยูไนเต็ด โกลบอล อินโนเวชั่น ฟันด์ (UNI-M) ระดับความเสี่ยง 6 กองทุนมีนโยบายลงทุนในตราสารทุนต่างประเทศที่ออกโดยบริษัททั่วโลก
รวมถึงประเทศในตลาดเกิดใหม่ โดยเป็นตราสารทุนของบริษัทที่เกี่ยวข้องหรือได้รับผลประโยชน์จากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและหรือเทคโนโลยีใหม่ โดยพิจารณาปัจจัยต่างๆ ดังนี้
ก) เป็นบริษัทผู้นำด้านนวัตกรรมที่มีศักยภาพในการสร้างผลิตภัณฑ์ หรือนวัตกรรมทางธุรกิจใหม่ และ/หรือ
ข) เป็นบริษัทผู้นำทางด้านเทคโนโลยีที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการพัฒนา หรือใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี และ/หรือ
ค) เป็นบริษัทที่มีการพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์ กระบวนการ หรือบริการ อันจะนำมาซึ่งประโยชน์จากความก้าวหน้า และการพัฒนาทางเทคโนโลยี กองทุนมีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
กองทุนเปิด ยูไนเต็ด โกลบอล ซัสเทนเนเบิล อินฟราสตรัคเจอร์ อิควิตี้ ฟันด์ (UINFRA) ระดับความเสี่ยง 6 กองทุนจะลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสารทุนต่างประเทศ และ/หรือกองทุนรวมอีทีเอฟ (ETF) ตราสารทุนต่างประเทศ ที่มีนโยบายการลงทุนที่เน้นการลงทุนในตราสารทุน ของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลก และมีแนวทางในการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน
โดยกระจายการลงทุนในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก ทั้งนี้ สัดส่วนการลงทุนในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก จะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัทจัดการตามสภาวะการลงทุนหรือการคาดการณ์สภาวะการลงทุนในแต่ละขณะ
โดยจะมี net exposure ในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสารทุนต่างประเทศ และ/หรือกองทุนรวมอีทีเอฟ (ETF) ตราสารทุนต่างประเทศที่มีนโยบายลักษณะดังกล่าวข้างต้น โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน กองทุนมีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
รวมถึง กองทุนเปิด ยูไนเต็ด แบตเตอรี่ แอนด์ อีวี เทคโนโลยี ฟันด์ (UEV-M) และ กองทุนเปิด ยูไนเต็ด โรโบติกส์ & อาร์ติฟิเชียล อินเทลลิเจนซ์ อีทีเอฟ (UBOT) รวมถึง กองทุนเปิด ยูไนเต็ด อิควิตี้ ซัสเทนเนเบิล โกลบอล ฟันด์ (UESG-M)
สำหรับนักลงทุนที่สนใจสามารถปรึกษาการลงทุนและขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธนาคาร ยูโอบี จำกัด (มหาชน) หรือ บลจ. ยูโอบี โทร. 0-2786-2222 หรือเลือกทำรายการผ่านบริการออนไลน์ Premier Online หรือผ่านแอปพลิเคชัน UOBAM Invest Thailand และสำหรับผู้ลงทุนใหม่สามารถเปิดบัญชีกองทุนออนไลน์และลงทุนได้ทันที่ ผ่านแอป UOBAM Invest หรือคลิกที่ https://www.uobam.co.th/th/Channel/OpenAccountnew