FINANCE

SCG x SCB สนับสนุนสินเชื่อสีเขียว ดันอาคารยุคใหม่ สู่สังคม Green อย่างยั่งยืน

SCG x SCB จับมือร่วมสนับสนุนสินเชื่อสีเขียว ผลักดันอาคารยุคใหม่ สู่สังคม  Green อย่างยั่งยืน

SCG จับมือธนาคารไทยพาณิชย์ สนับสนุนสินเชื่อสีเขียว ตั้งโมเดลให้บริการด้าน    Green Finance แบบครบวงจรตั้งแต่ออกแบบโครงการจนถึงการยื่นขอสินเชื่อ หวังตอบโจทย์ผู้ประกอบการที่ต้องการยกระดับอาคารสู่ Net Zero Building 

พร้อมอัตราดอกเบี้ยพิเศษและวงเงินสูงสุดตามที่ใช้จริง เพื่อร่วมผลักดันอาคารยุคใหม่สู่สังคม Green อย่างยั่งยืน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอาคารและโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ 

โดยมี นายวชิระชัย คูนำวัฒนา Head of Smart System Solution Business, SCG และนายฐิติพงศ์ ศรีสมบูรณานนท์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน  Wholesale Banking Data, Strategy and Segment Management

ธนาคารไทยพาณิชย์ ร่วมประกาศความร่วมมือ Pathway to Net Zero Building Package เพื่อตอกย้ำพันธกิจด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อสังคมร่วมกัน

นายวชิระชัย คูนำวัฒนา Head of Smart System Solution Business, SCG กล่าวว่า ปัจจุบันการทำสินเชื่อสีเขียว หรือ Green Finance เป็นที่นิยมและทำกันอย่างแพร่หลายทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เนื่องด้วยสถานการณ์โลกเดือด หรือ Global Boiling

ซึ่งมีแนวโน้มทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกวัน ถือเป็นวาระความร่วมมือระดับโลกที่ทุกภาคส่วนต่างต้องให้ความสำคัญ เพื่อหาแนวทางขับเคลื่อนและร่วมแก้ปัญหานี้อย่างเป็นรูปธรรมไปด้วยกัน

บริษัท SCG Building and Living Care Consulting จำกัด ในฐานะผู้ให้บริการที่ปรึกษาด้านอาคารเขียวเพื่อมุ่งสู่ Net Zero เรามีบริการและทีมผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งสามารถช่วยให้ผู้ประกอบการที่มีเป้าหมายการทำ Net zero สามารถเริ่มต้น Climate actions ที่เหมาะสมกับองค์กรได้

โดย ปัจจุบันมีประสบการณ์ในการทำอาคารเขียวสำเร็จแล้วมากกว่า 200 โครงการ ทำให้สามารถนำองค์ความรู้มาต่อยอดและร่วมมือกับพันธมิตรในการขยายผลให้ตอบโจทย์ Net Zero Building ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางการ ลดก๊าซเรือนกระจกให้กับโลกได้

ความร่วมมือกับธนาคารไทยพาณิชย์ ในครั้งนี้ ถือเป็นความร่วมมือเพื่อสนับสนุนและผลักดันการสร้างสังคมเพื่อความยั่งยืนในภาพที่ใหญ่ขึ้น จากการให้บริการด้านสินเชื่อสีเขียวแบบครบวงจร

โดยทีมผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์จาก SCG ที่จะช่วยประเมินผลโครงการและคำนวณต้นทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจริง เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุดแก่ผู้ประกอบการและโครงการ ทั้งยังมีแนวทางให้คำปรึกษา Framework และรูปแบบในการดำเนินการที่ชัดเจนสำหรับการทำอาคารเพื่อมุ่งสู่ Net Zero

อ้างอิงตามหลักการและมาตรฐานสากล ตามเงื่อนไขและข้อกำหนดของการกู้ยืมสินเชื่อ      สีเขียว ก่อนส่งต่อกระบวนการไปยัง SCB ผู้ให้บริการด้านสินเชื่อต่อไป โดยมี Exclusive period สำหรับลูกค้าที่สนใจ ในช่วงไตรมาสที่ 2 นี้เท่านั้น(เมษายน – มิถุนายน 2567)

นายฐิติพงศ์ ศรีสมบูรณานนท์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Wholesale Banking Data, Strategy and Segment Management ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ธนาคารไทยพาณิชย์มีเป้าหมายในการเป็นธนาคารชั้นนำด้านความยั่งยืน

โดยมีแผนผลักดันการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero)  ผ่านการให้สินเชื่อและการลงทุนภายในปี 2050 ด้วยความมุ่งมั่นในการให้บริการในฐานะพันธมิตร (Trusted Partner) ที่เข้าใจธุรกิจ ด้วยการสนับสนุนช่วยเหลือให้ลูกค้าธุรกิจปรับตัวและเติบโตอย่างยั่งยืนพร้อมรับกับการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมสีเขียว

จึงดำเนินการร่วมกับองค์กรชั้นนำ ผ่านการให้คำปรึกษาและการสนับสนุนสินเชื่อสีเขียวในหลากหลายอุตสาหกรรมสร้างการเติบโตเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน 

โดยความร่วมมือในครั้งนี้จะอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าธุรกิจที่ใช้บริการ  SCG Building and Living Care Consulting ได้รับวงเงินสินเชื่อสูงสุดตามที่ใช้จริง ระยะเวลาสินเชื่อนานสูงสุด 10 ปีพร้อมดอกเบี้ยพิเศษจากธนาคารไทยพาณิชย์ และเงื่อนไขอื่นๆ เป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด

นอกจากนี้ลูกค้าธนาคารไทยพาณิชย์ที่สนใจเข้าร่วมโครงการจะได้รับสิทธิพิเศษจาก  SCG  ในการวิเคราะห์ Pre-Gap Analysis โดยผู้เชี่ยวชาญ และ คำนวณคาร์บอนฟุตปรินท์อาคารหลังการดำเนินงาน (มูลค่าสูงสุดถึง 100,000 บาท)

สำหรับผู้ที่แสดงความสนใจภายในช่วง เมษายน – มิถุนายน 2567 นี้ เพื่อสนับสนุนให้ลูกค้าธุรกิจพัฒนาโครงการอย่างยั่งยืน คุ้มค่าต่อการลงทุน และต่อยอดโอกาสทางธุรกิจในอนาคต

 ทั้งนี้ บริษัท SCG Building and Living Care Consulting จำกัด ยังเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ให้บริการการออกแบบ วิศวกรรมอาคาร และรับรองมาตรฐานเพื่ออาคารเขียว อาคารประหยัดพลังงาน อาคารเพื่อสุขภาวะที่ดี และการพัฒนาอาคารเพื่อมุ่งสู่ Net Zero

โดยเป็นบริษัทเดียวในประเทศไทยที่ได้รับการรับรอง LEED Proven Provider จากองค์กร  U.S. Green Building Council

ใส่ความเห็น