KKP คงประมาณการตัวเลข GDP เท่าเดิม เศรษฐกิจไทยยังฟื้นช้า และ GDP ไม่สะท้อนความอ่อนแอหลายภาคส่วน
ในช่วงที่ผ่านมามีการประกาศอั ตราการเติบโตของ GDP ในไตรมาส 1 ของไทยที่ระดับ 1.5% YoY ซึ่งออกมาสูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ ที่ 0.6% ค่อนข้างมาก จากการบริโภคภาคเอกชนที่ โตมากกว่าที่คาด แต่ KKP Research ยังคงตัวเลขการคาดการณ์เศรษฐกิ จทั้งปี 2024 ไว้ที่ 2.6%
โดยคาดว่าอัตราการเติ บโตของเศรษฐกิจจะทยอยปรับตัวดี ขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี แต่ในภาพรวมเศรษฐกิจไทยยังคงอ่ อนแอและถูกรุมเร้าด้วยปัญหาเชิ งโครงสร้างในภาคการผลิต ไทยยังคงเป็นหนึ่งในประเทศที่ เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ช้ามากที่สุ ดในภูมิภาค
หลังเศรษฐกิจโตติดลบ 6.1% ในปี 2020 เศรษฐกิจไทยกลับมาเติบโตได้เพี ยง 1.6%, 2.5%, และ 1.9% ในปี 2021, 2022 และ 2023 ตามลำดับ ซึ่งเป็นการเติบโตที่ต่ำกว่ าระดับศักยภาพเดิมของไทยที่ 3-3.5% แม้การท่องเที่ยวที่เคยเป็ นแรงขับเคลื่อนของเศรษฐกิ จไทยจะกลับมาเติบโตได้ดีแล้วก็ ตาม
การใช้จ่ายภาครัฐหนุนเศรษฐกิ จครึ่งหลัง
ในช่วงที่เหลือของปีนี้ KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะเติ บโตได้ดีขึ้นกว่าในช่วงครึ่งปี แรก จาก 3 ปัจจัยสนับสนุนสำคัญ คือ 1) การเบิกจ่ายงบประมาณที่ล่าช้ าและจะเร่งตัวขึ้นตั้งแต่ช่ วงกลางปี จะส่งผลบวกต่อตัวเลขการเติ บโตทางเศรษฐกิจชั่วคราว
โดยการลงทุนภาครัฐในช่วงที่ผ่ านมาหดตัวลงประมาณ 20% ในไตรมาส 4 ปี 2023 และ 30% ในไตรมาส 1 ปี 2024 การใช้จ่ายที่จะกลับมาเป็ นปกติจะทำให้เศรษฐกิจไทยเติ บโตได้ดีขึ้นจากปัจจัยด้านฐานต่ำ
2) ภาคการผลิตบางส่วนฟื้นตัวได้ ตามวัฏจักรสินค้าคงคลังที่ ทยอยปรับตัวลดลง เช่น การผลิตอาหาร โดยในภาพรวมการส่งออกไทยยังฟื้ นตัวได้ในระดับต่ำ 3) จำนวนนักท่องเที่ยวและการใช้จ่ ายของนักท่องเที่ยวคาดว่าจะปรั บตัวดีขึ้น โดยคาดการณ์นักท่องเที่ยวที่ 35.2 ล้านคนจาก 28 ล้านคนในปีก่อน
สัญญาณเปลี่ยน 3 ปัจจัยโครงสร้างฉุดเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจไทยที่โตได้ต่ำกว่า 3% นับตั้งแต่หลังโควิดมาจนถึงปั จจุบัน นับว่าต่ำกว่าศักยภาพเดิ มของเศรษฐกิจอย่างมาก KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยถูกฉุดรั้ งจาก 3 ปัจจัยเชิงโครงสร้าง ส่งผลให้สัญญาณทางเศรษฐกิจเปลี่ ยนไป คือ
1) การผลิตในภาคอุตสาหกรรมเผชิญปั ญหาเชิงโครงสร้าง เป็นปัจจัยฉุ ดสำคัญต่อเศรษฐกิจ โดย KKP Research ประเมินว่าการฟื้นตัวของแต่ละอุ ตสาหกรรมมีความแตกต่างกันอย่ างมาก อุตสาหกรรมกว่า 1 ใน 3 ของมูลค่าเพิ่มทั้งหมด หรือกว่า 10% ของ GDP มีแนวโน้มเผชิญปัญหาเชิงโครงสร้ าง
เช่น การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และอุปสงค์โลก ส่งผลให้แม้การส่งออกจะปรับตั วดีขึ้นแต่สินค้ากลุ่มนี้อาจยั งไม่ฟื้นตัว และการผลิตภาคอุ ตสาหกรรมในภาพรวมจะยังคงเติ บโตติดลบในปีนี้แม้จะทยอยปรับตั วดีขึ้น
2) มูลค่าเพิ่มจากการส่งออกมี แนวโน้มปรับตัวลดลง เพราะแม้ตัวเลขการส่งออกไทยจะฟื้ นตัวขึ้นได้ แต่เศรษฐกิจไทยอาจไม่ได้ ประโยชน์มากเท่าเดิมจากการฟื้ นตัวของภาคการส่งออก เนื่องจากการส่งออกบางส่วนเป็ นเพียงการเปลี่ยนเส้นทางการขนส่ งสินค้าจากจีนไปยังสหรัฐอเมริกา (re-routing) เพื่อหลีกเลี่ยงมาตรการกีดกั นทางการค้า ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ การส่งออก solar panel ซึ่งไม่ได้ผลิตในประเทศไทย
3)เศรษฐกิจไทยอาจกำลังเข้าสู่วั ฏจักรการจ่ายหนี้คืน (Deleveraging Cycle) สะท้อนจากยอดสินเชื่อปล่ อยใหม่ที่หดตัวลงต่อเนื่อง เป็นผลมาจากหนี้ครัวเรือนที่อยู่ ในระดับสูงมากในปัจจุบั นและรายได้ครัวเรือนที่เติบโตช้ าส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์เข้ มงวดมากขึ้นในการปล่อยสินเชื่อ
การชะลอตัวส่งผลให้แม้การบริ โภคในภาพรวมขยายตัวได้ดีขึ้ นจากภาคบริการ แต่การบริโภคสินค้ าคงทนโดยเฉพาะการบริโภครถยนต์ เติบโตติดลบอย่างหนักและยังไม่ มีสัญญาณฟื้นตัว
ติดตามเฉพาะ GDP ไม่เพียงพอ
แม้ในช่วงที่ผ่านมาการเติบโตของ GDP จะยังคงเป็นบวก นักท่องเที่ยวกลับมาฟื้นตัว ทำให้หลายฝ่ายคาดว่าเศรษฐกิ จไทยกำลังฟื้นตัวได้ดี อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวดังกล่าวสะท้อนภาพที่ แตกต่างกันอย่างมากในแต่ละภาคส่ วน โดยยังมีหลายภาคเศรษฐกิจที่ยั งหดตัวหรือเติบโตได้ช้าอย่างมี นัยสำคัญ โดย KKP Research พบว่า
1)เศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมาถู กขับเคลื่อนด้วยภาคบริการเป็ นหลัก โดยในช่วงหลังโควิดเป็นต้ นมาในระหว่างปี 2021–2024 การผลิตในภาคบริการเติบโตเฉลี่ ยปีละ 3.0% เทียบกับภาคการผลิตที่ยังเติ บโตติดลบ -0.5% ทั้งนี้ การเติบโตของการผลิตในภาคอุ ตสาหกรรมและภาคเกษตรไม่ได้เพิ่ งชะลอตัวลง แต่ส่งสัญญาณชะลอตัวมาตั้งแต่ช่ วงก่อนโควิด
2) เศรษฐกิจไทยถูกขับเคลื่อนด้วยอุ ปสงค์จากต่างประเทศเป็นหลัก โดยอุปสงค์ในประเทศมีทิ ศทางชะลอตัวลงมาโดยตลอด เปรียบเทียบกับอุปสงค์ต่างชาติ ที่นับรวมการส่งออกสินค้ าและการส่งออกบริการ (ภาคการท่องเที่ยว) ที่ขยายตัวได้ดีกว่ามากและเป็ นแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิ จไทย
3)ภาคการผลิตในหลายส่ วนของไทยเผชิญปัญหาเชิงโครงสร้ างและชะลอตัวมาตั้งแต่ช่วงก่ อนโควิด -19 และเมื่อเปรียบเทียบกับช่ วงปลายปี 2019 กับปัจจุบันแม้ GDP กลับมาที่จุดที่ใกล้เคียงกั บระดับก่อนโควิดแล้ว แต่ภาคการผลิตกว่า 66% ของมูลค่าเพิ่มในภาคการผลิตทั้ งหมด ณ สิ้นปี 2023 ยังมีปริมาณการผลิตที่อยู่ ในระดับต่ำกว่าก่อนโควิด ปี 2019
ผลกระทบกระจาย ยอดโรงงานปิดตัวพุ่ง
การเติบโตที่แตกต่างกันมากในแต่ ละภาคเศรษฐกิจกำลังชี้ให้เห็นว่ า GDP ที่พอเติบโตได้เป็นภาพที่ไม่ สมบูรณ์เกี่ยวกับทิศทางการฟื้ นตัวของเศรษฐกิจไทย เพราะสถานการณ์เศรษฐกิ จในหลายภาคส่วนยังคงอยู่ในทิ ศทางที่ปรับตัวแย่ลง ในปัจจุบันข้อมูลสะท้ อนผลกระทบที่รุนแรงขึ้นจากสั ญญาณการปิดตัวของโรงงานอุ ตสาหกรรมที่เร่งตัวขึ้นมาก
โดยนับตั้งแต่ต้นปี 2023 ถึงปัจจุบันมีโรงงานปิดตั วลงไปแล้วกว่า 1,700 แห่ง เพิ่มสูงขึ้นจากช่วงเดียวกั นของปีก่อนที่มีโรงงานปิดตั วประมาณ 1,100 แห่งโดยยอดการปิดตัวเร่งขึ้นตั้ งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี 2023 สอดคล้องกับดัชนีการผลิตที่อ่ อนแอลง
นอกจากนี้ ข้อมูลยังสะท้อนการจ้ างงานที่ชะลอตัวลงในเกือบทุ กหมวดอุตสาหกรรมหากเปรียบเที ยบกับการจ้างงานในช่วงก่อนโควิด ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงที่ เริ่มเห็นได้ชัดขึ้น
สะท้อนว่ าเศรษฐกิจไทยในหลายกลุ่ มโดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมอยู่ ในภาวะที่ย่ำแย่ และตอกย้ำความสำคัญของการแก้ ไขปัญหาด้านความสามารถในการแข่ งขันในภาคการผลิตให้กับเศรษฐกิ จไทยในระยะยาว