เปิด 4 แนวทางพัฒนาอสังหาฯ สู้ “โลกร้อน”
แอล ดับเบิลยู เอสฯ แนะ 4 แนวทางพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ สู้ “โลกร้อน” ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสร้างสุขภาวะที่ดี (Wellbeing) เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ ซื้อในปัจจุบัน
นายประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล ดับเบิลยู เอส วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด บริษัทวิจัยและพัฒนาอสังหาริ มทรัพย์ในเครือ บริษัท แอล.พี.เอ็น ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)
แนะ 4 วิธีในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดขยะจากกระบวนการก่อสร้าง และสร้างสุขภาวะที่ดี (Wellbeing) ในการอยู่อาศัยเพื่อตอบโจทย์ ความต้องการของผู้ซื้อในปัจจุบั น
และเป็นส่วนหนึ่งที่สนองตอบต่ อนโยบายของรัฐบาล ในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ การเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี ค.ศ. 2050 และ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศู นย์ (Net Zero) ในปี ค.ศ. 2065
“ภายใต้กรอบของการขับเคลื่ อนประเทศสู่การเป็นกลางทางคาร์ บอน และคาร์บอนเป็นศูนย์ ดังกล่าว ประเทศไทย ได้มีการจัดทำร่างพระราชบัญญัติ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภู มิอากาศ ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการรับฟั งความคิดเห็นจากประชาชน
โดยสาระสำคัญของกฎหมาย คือ แนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกของภาคธุรกิจ มีการจัดเก็บภาษีการปล่อยก๊ าซเรือนกระจก เพื่อกระตุ้นให้ภาคธุรกิจให้ ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจให้ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
โดยมีการจัดเก็บภาษีสูง สำหรับองค์กรที่มีการปล่อยก๊ าซเรือนกระจกมาก และจะลดลงเมื่ อองค์กรสามารถลดการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกได้ ซึ่งครอบคลุมไปถึงห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)ของธุรกิจด้วย ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในปี 2568 เป็นอย่างเร็ว หรือปี 2569 เป็นอย่างช้า
ดังนั้นการบริหารจัดการองค์ กรให้สามารถลดการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกก่อนที่กฎหมายจะมีผลบั งคับใช้ จะเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการต้นทุน และ ลดภาระค่าใช้จ่ายได้ในระยะยาว” นายประพันธ์ศักดิ์ กล่าว
โดย 4 แนวทางในการพัฒนาอสังหาริมทรั พย์ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ประกอบด้วย
1. การปรับตัวในขั้นตอนการก่อสร้ างและออกแบบ โดยใช้การออกแบบที่เรียกว่า Passive Design โดยการจัดวางรูปแบบอาคารโดยคำนึ งถึงสภาพแวดล้อม ทิศทางของแสง และ ลม โดยเราสามารถกำหนดการวางช่องเปิ ดของอาคาร เพื่อให้แสงและลมธรรมชาติ เข้าสู่อาคารเพื่อลดการใช้พลั งงานภายในอาคารและวางการถ่ ายเทอากาศ ที่ดีเพื่อลดการสะสมความร้ อนภายในอาคาร
2. การใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่ งแวดล้อมและมีคุณสมบัติ ในการสะท้อนแสงหรือลดความร้อน ซึ่งการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิ ตรกับสิ่งแวดล้อมก็ อาจจะมาจากผลิตภัณฑ์ที่เกิ ดจากการผลิตที่ไม่สร้างก๊าซเรื อนกระจกหรือสร้างแต่น้อยกว่าผลิตภัณฑ์ปกติอื่นๆ หรือจะเป็นการเลือกใช้วัสดุปิ ดผิวหรือสีที่มีคุณสมบัติ ในการสะท้อนแสงหรือความร้อนเพื่ อลดความร้อนที่สะสมบนผิวอาคาร
3. การปลูกต้นไม้ ซึ่งการปลูกต้นไม้อาจจะเป็นวิธี ที่ดูพื้นฐานมากที่สุดแต่ หากเราออกแบบหรือวางตำแหน่งที่ สมควร นอกจากจะช่วยปลูกต้นไม้ทดแทนแล้ วยังจะช่วยเรื่องของการเป็นตั วกรองแสงธรรมชาติในการรั บแสงอาทิตย์ตรงๆแทนที่จะลงกั บอาคาร
และยังสร้างร่มเงาให้กั บพื้นที่โดยรอบของอาคารทำให้ ลดการสะสมความร้อนบนผิวของวัตถุ เห็นได้ชัดกับทางสัญจรที่เป็นวั สดุคอนกรีตเปรียบเทียบความร้ อนสะสมระหว่าง มีร่มเงากับไม่มีจะต่างกันมาก ถึ ง 5 องศากันเลยทีเดียว
4. การใช้โซล่าเซลล์ ถึงแม้จะต้ องลงทุนติดตั้งเพิ่ม ทำให้ต้นทุนค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้ น แต่ในระยะยาวแล้ว เป็นการลดภาระค่าใช้จ่ ายในระยะยาวสำหรับผู้อยู่อาศัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
จากแนวทางดังกล่าว นายประพันธ์ศักดิ์ กล่าวว่า จะช่วยให้ผู้ประกอบการอสังหาฯ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มาก ทำให้ผู้ประกอบการอสังหาฯ สามารถที่จะลดภาระค่าใช้จ่ ายโดยเฉพาะภาษีจากการปล่อยก๊ าซเรือนกระจก ที่อยู่ในร่างกฎหมายการเปลี่ ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่อยู่ระหว่างการร่างและรับฟั งความคิดเห็นจากประชาชน
ในปัจจุบัน “ตามร่างกฎหมายว่าด้วยการเปลี่ ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะคำนวณค่าใช้จ่ายจากปริ มาณการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกของภาคธุรกิจ ถ้าผู้ประกอบการอสังหาฯ ปรับปรุงกระบวนการก่อสร้าง
และเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรกั บสิ่งแวดล้อม สามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรื อนกระจก จากกระบวนการทำงานได้ ก็จะลดภาระภาษีที่ต้องจ่าย ยกตัวอย่างเช่น ถ้าปกติในกระบวนการก่อสร้างบ้าน 1 หลัง มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 5-7 tCO2eq เท่ากับ
เมื่อปรับกระบวน การก่อสร้ างสามารถลดการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกต่อปีได้ 1-2 tCO2eq เท่ากับว่าเราจะสามารถลดการจ่ ายภาษีคาร์บอนลงจาก 5-7 tCO2eq เหลือ 3-4 tCO2eq ต่อปี เป็นต้น”
ถึงแม้ปัจจุบันกฎหมายว่าด้ วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะอยู่ในกระบวนการพิจารณาร่ างและยังไม่มีผลบังคับใช้ก็ตาม แต่ ทันทีที่กฎหมายฉบับนี้จะมีผลบั งคับใช้จะส่งผลกระทบกับภาคธุรกิ จทุกกลุ่ม
โดยเฉพาะอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีการปล่ อยก๊าซเรือนกระจกสูงเมื่อเที ยบกับภาคอุตสาหกรรมอื่น การปรับตัวก่อนที่กฎหมายจะมี ผลบังคับใช้ จึงไม่ใช่ทางเลือกแต่เป็นสิ่งที่ ต้องทำ เพื่อให้สามารถลดภาระค่าใช้จ่ ายได้ในระยะยาว
โดยเฉพาะภาระค่ าใช้จ่ายจากภาษีการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกที่จะมีผลบังคับใช้ และในขณะเดียวกัน ยังเป็นการพลิกโฉมธุรกิจอสังหาฯ สู่การเป็นธุรกิจที่เป็นมิตรกั บสิ่งแวดล้อม นายประพันธ์ศักดิ์ กล่าว