แอล ดับเบิลยู เอส ระบุ 5 ประเด็นหลักที่ต้องรู้ ในการขายห้องชุดให้ต่างชาติ
“แอล ดับเบิลยู เอสฯ” ระบุสิทธิในการถือครอง ที่มาของเงินลงทุน ภาษีและค่าธรรม เนียมการโอน ใบรับรองการถือครองทรัพย์สิน และ กฏหมายประกอบธุรกิจของชาวต่ างชาติ เป็น 5 ประเด็นหลักที่ผู้ประกอบอสังหาฯ ต้องให้ความสำคัญในการขายห้องชุ ดให้ชาวต่างชาติ
นายประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล ดับเบิลยู เอส วิสดอม แอนด์ โซลูชั่นส์ จำกัด บริษัท วิจัยและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ในเครือ บริษัท แอล พี เอ็น ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “นโยบายกระตุ้นภาคอสังหาริมทรั พย์ของรัฐบาล
โดยเฉพาะประเด็นที่จะเปิ ดโอกาสให้ชาวต่างชาติสามารถถื อครองทรัพย์สินประเภทอาคารชุดพั กอาศัยได้เพิ่มขึ้นจาก 49% เป็น 75% ของพื้นที่อาคารชุดทั้งหมด โดยจะมีการกำหนดเงื่อนไขอื่นที่ เกี่ยวข้องกับการบริหารจั ดการของนิติบุคคลอาคารชุด
เช่น การจำกัดสิทธิการออกเสี ยงของคนต่างด้าว และนิติบุคคลต่างด้าวที่ได้เข้ ามาถือกรรม สิทธิ์ ในภายหลังจากที่ เกินอัตราส่วน 49% เพื่อที่จะไม่กระทบกับผู้ถื อกรรมสิทธิของคนไทย เป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มกำลั งซื้อที่อยู่อาศัยภายในประเทศ
หลังจากที่กำลังซื้ อภายในประเทศชะลอตัวลง ตามภาวะเศรษฐกิจที่มีอั ตราการเติบโตแบบชะลอตัว กำลังซื้อจากต่างชาติเป็นส่ วนหนึ่งที่จะกระตุ้นภาคอสังหาฯ ในประเทศไทย ในภาวะที่กำลังซื้ อภายในประเทศชะลอตัว” นายประพันธ์ศักดิ์กล่าว
จากข้อมูลศูนย์ข้อมูลอสังหาริ มทรัพย์ (REIC) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ระบุว่าพื้นที่การโอนกรรมสิทธิ์ ห้องชุดของชาวต่างชาติ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 มีจำนวนทั้งหมด 173,007 ตารางเมตร จากพื้นที่การโอนทั้งหมด 818,489 ตารางเมตร หรือคิดเป็น 21.13% ซึ่งเพิ่มขึ้น 2.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี ก่อน
และถ้าหากเทียบกับช่วงเดี ยวกันเมื่อ 2 ปีก่อน (ปี 2565) พบว่าพื้นที่การโอนกรรมสิทธิ์ห้ องชุดของชาวต่างชาติ ใน ปี 2567 จะเพิ่มขึ้นถึง 78.30% โดยสัญชาติที่ถือครองกรรมสิทธิ์ ในคอนโดมากที่สุดคือ จีน คิดเป็น 40.5% รองลงมาเป็น เมียนม่า 10.0% รัสเซีย 7.5%
และยังพบว่าทำเลที่คนจีนนิยมซื้ อลงทุนมากที่สุดตามลำดับคือ พัทยา-ชลบุรี คิดเป็น 46% รองลงมาเป็นเชียงใหม่ 32% และภูเก็ต 29.4% ในส่วนของกรุงเทพฯคิดเป็น 14.4% จากข้อมูลที่กล่าวมานี้สะท้ อนให้เห็นถึงความสนใจของชาวต่ างชาติในการถือครองกรรมสิทธิ์ ของอาคารชุดในเมืองหลักและเมื องท่องเที่ยว
แต่อย่างไรก็ ตามเมื่อเปรียบเทียบกับสัดส่ วนการโอนกรรมสิทธิ์อาคารชุ ดของชาวต่างชาติทั่วประเทศในปั จจุบันยังอยู่เพียง 21.13% เท่านั้น จึงมีช่องว่ างและโอกาสในการขยายการลงทุนอสั งหาฯ จากชาวต่างชาติ เพื่อกระตุ้นภาคอสังหาฯ ภายในประเทศให้มีอัตราการเติ บโตทดแทนกับกำลังซื้ อภายในประเทศที่ลดลง
ถึงแม้นโยบายกระตุ้นภาคอสังหาฯ ที่เพิ่มกำลังซื้อของชาวต่ างชาติจะยังไม่มีผลบังคับใช้ก็ ตาม แต่ปัจจุบัน สัดส่วนการถือครองที่อยู่อาศั ยประเภทอาคารชุดของชาวต่างชาติ ยังอยู่ในอัตราที่ต่ำกว่า 49% ตามกฏหมายกำหนด
จึงเป็นโอกาสสำหรับผู้ ประกอบการอสังหาฯ ที่จะกระตุ้นกำลังซื้อจากต่ างชาติ โดยต้องคำนึงถึงข้อกฎหมายในปั จจุบัน เพื่อที่จะสื่อสารและทำความเข้ าใจกับชาวต่างชาติในสิทธิ ประโยชน์ที่จะได้จากการถื อครองอาคารชุดในประเทศไทย โดยมี 5 ประเด็นหลักที่ต้องให้ความสำคั ญได้แก่
1. ข้อจำกัดในการถือครอง
วัตถุประสงค์เพื่อรักษาสัดส่ วนการถือครองอสังหาริมทรัพย์ ภายในประเทศให้อยู่ในมื อของคนไทยส่วนใหญ่ และเพื่อควบคุมการลงทุนของคนต่ างด้าวในอสังหาริมทรัพย์ ภายในประเทศไทย อ้างอิงพระราชบัญญัติอาคารชุด( ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551 มาตรา19 ชาวต่างชาติสามารถถื อครองอาคารชุดได้ไม่เกิน 49% ของพื้นที่ขายทั้ งหมดในโครงการนั้นๆ ส่วนที่เหลือจะต้องเป็นของคนไทย
หากสัดส่วนการถือครองของคนต่ างชาติในโครงการถึง 49% แล้ว คนต่างชาติจะไม่สามารถจดทะเบี ยนกรรมสิทธิ์ในโครงการนั้นได้อี ก ซึ่งการตรวจสอบสัดส่วนการถื อครองของคนต่างชาติ ตรวจสอบจากนิติบุคคลอาคารชุ ดโครงการ สอบถามสำนักงานที่ดินที่รับผิ ดชอบดูแลพื้นที่โครงการ กรณีที่โครงการยังอยู่ระหว่ างการพัฒนาหรือเพิ่งเปิ ดขายสามารถติดต่อผู้พั ฒนาโครงการ หรือการใช้บริการจากทนายความหรื อที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์
2. แหล่งที่มาของเงินทุน
คนต่างด้าวต้องใช้เงินทุนที่ นำเข้ามาจากต่างประเทศในการซื้ ออาคารชุด และเงินดังกล่าวจะต้องถู กแปลงเป็นเงินบาทผ่านธนาคารพาณิ ชย์ในประเทศไทย โดยธนาคารจะออกหนังสือรั บรองการนำเงินเข้าประเทศ (Foreign Exchange Transaction Form) ซึ่งเป็นเอกสารสำคั ญในการโอนกรรมสิทธิ์
3. ภาษีและค่าธรรมเนี ยมการโอนกรรมสิทธิ์
การโอนกรรมสิทธิ์จะต้องดำเนิ นการที่สำนักงานที่ดิน ซึ่งต้องมีเอกสารครบถ้วน ได้แก่ หนังสือเดินทางของคนต่างด้าว, หนังสือรับรองการนำเงินเข้ าประเทศ, สัญญาซื้อขาย และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ชำระค่าธรรมเนียมและภาษี ลงนามเอกสารร่วมกันทั้งผู้ซื้ อและผู้ขาย และสำนักงานที่ดินจะออกหนังสื อรับรองการโอนกรรมสิทธิ์ให้กั บผู้ซื้อ
ซึ่งค่าธรรมเนียมในการโอนกรรมสิ ทธิ์ โดยทั่วไปคิดเป็น 2% ของราคาประเมินหรือราคาซื้อขาย (แล้วแต่อย่างใดสูงกว่า) ภาษีธุรกิจเฉพาะ คิดเป็น 3.3% ของราคาซื้อขายหรือราคาประเมิน (หากถือครองอสังหาริมทรัพย์น้ อยกว่า 5 ปี) ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คำนวณตามอัตราภาษีเงินได้บุ คคลธรรมดาแบบขั้นบันได
4. การขอใบรับรองการถือครอง
คนต่างด้าวจำเป็นต้องขอใบรั บรองการถือครองจากสำนักงานที่ดิ น เพื่อยืนยันว่าการซื้อขายเป็ นไปตามกฎหมาย รวมถึงการนำเงินเข้าประเทศอย่ างถูกต้องโดยมีธนาคารพาณิชย์ ออกหนังสือรับรองการนำเงินเข้ าประเทศ
5. กฎหมายและข้อบังคับอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ กฏหมายการประกอบธุรกิจของคน ต่ างด้าว พ.ศ. 2542
นอกจากพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 ที่กำหนดข้อจำกัดเกี่ยวกับการถื อครองอาคารชุดโดยคนต่างด้าวแล้ว ยังมีพระราชบัญญัติการประกอบธุ รกิจของคนต่างด้าวพ.ศ.2542 แม้ว่าอาคารชุดไม่ถือเป็นธุรกิ จที่ถูกควบคุมโดยตรงภายใต้ กฎหมายนี้ แต่ในบางกรณีที่คนต่างด้าวเข้ ามาทำธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริ มทรัพย์ในไทย
กฎหมายนี้กำหนดเงื่อนไขและข้ อจำกัดในการประกอบธุรกิจเพื่อป้ องกันไม่ให้คนต่างด้าวเข้ ามาครอบครองทรัพย์สิ นในประเทศอย่างไม่เป็นธรรม ข้อบังคับท้องถิ่นในบางพื้นที่ อาจมีข้อบังคับเพิ่มเติ มจากกฎหมายหลัก เช่น การจำกัดการถือครองอาคารชุ ดในบางเขตพื้นที่ หรือข้อกำหนดเกี่ยวกับการพั ฒนาและการใช้ประโยชน์จากที่ดิ นและอาคารชุด เป็นต้น
“ปัจจุบันราคาที่อยู่อาศั ยในประเทศไทย มีการปรับตัวสูงขึ้นมากกว่ าความสามารถในการซื้อของผู้ซื้ อภายในประเทศ การเปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติเข้ ามาซื้อที่อยู่อาศัยในประเทศไทย จึงมีความจำเป็นที่จะเพิ่มกำลั งซื้อและกระตุ้นภาคอสังหาฯ ในประเทศไทย
และในขณะเดียวกันเราจำเป็นต้ องมีความชัดเจนในข้อกฏหมาย และสร้างความเข้าใจกับนักลงทุ นชาวต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กฏระเบียบใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นภายใต้ กรอบของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิ จของรัฐบาล ที่จะเปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติ เป็นเจ้าของอสังหาฯ ในไทยได้มากขึ้น ยิ่งจำเป็นที่จะต้องมีกฏระเบี ยบที่ชัดเจน เพื่อลดประเด็นขัดแย้งที่ อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต” นายประพันธ์ศักดิ์ กล่าว