NEWS

ลาซาด้า ลุยอีคอมเมิร์ซ ปักธง 3 กลยุทธ์มัดใจนักช้อป ลงทุนพัฒนานวัตกรรมยกระดับผู้ขายไทย

ลาซาด้า มุ่งสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน ก้าวสู่ยุคใหม่ของอีคอมเมิร์ซ ปักธง  3 กลยุทธ์ สร้างความแตกต่างมัดใจนักช้อป ลงทุนพัฒนานวัตกรรมยกระดับศักยภาพผู้ขายไทย

ลาซาด้า ประเทศไทย เผยภาพรวมความสำเร็จ ตอกย้ำตำแหน่งแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ครองใจนักช้อปและผู้ขาย พร้อมชู 3 กลยุทธ์เสริมแกร่งอีโคซิสเต็ม มุ่งขยายฐานนักช้อปขาประจำในเซ็กเมนต์สินค้าพรีเมียม-แฟชัน-ความงาม เสริมแกร่งนวัตกรรมเพื่อสร้างการมีส่วนร่วม และขยายสิทธิประโยชน์และบริการเสริมสำหรับร้านค้า ตั้งเป้าสานต่อการเติบโตอย่างยั่งยืน หลังธุรกิจทั่วภูมิภาคมีผลกำไรเป็นบวกครั้งแรกในปีนี้

 วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า “ตลอดระยะเวลากว่า 12 ปี ลาซาด้าได้ขับเคลื่อนนวัตกรรมและเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ควบคู่ไปกับการพัฒนาธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่แข็งแกร่ง สะท้อนได้จากสถานะ  EBITDA จากการดำเนินธุรกิจใน 6 ประเทศของลาซาด้า กรุ๊ป ที่มีผลเป็นบวกเป็นครั้งแรกในเดือนกรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา

ความสำเร็จดังกล่าวชี้ให้เห็นถึงการก้าวสู่ยุคใหม่ของอีคอมเมิร์ซ ซึ่งให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพและความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจ มากกว่าการบรรลุเป้าหมายในระยะสั้น เพื่อมุ่งสู่การเติบโตระยะยาวอย่างยั่งยืน”

อุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซไทยมีศักยภาพในการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2566 ไทยเป็นตลาดที่มีมูลค่าสูงเป็นอันดับที่ 2 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยอัตราการเติบโต 20% เทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาค

ลาซาด้ายังเดินหน้าลงทุนในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ 3 ด้าน ได้แก่ การยกระดับประสบการณ์นักช้อป นวัตกรรมและเทคโนโลยี และการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน

ยกระดับประสบการณ์แบบเฉพาะบุคคล

เพื่อตอบรับการขยายตัวของกลุ่มนักช้อปหญิงและบทบาทที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคกลุ่ม Gen Z ลาซาด้า เดินหน้ากลยุทธ์เพิ่มประสบการณ์การช้อปที่แตกต่าง ภายใต้แนวคิด   Customer-First” เน้นการตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะบุคคลได้ดียิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มอัตราการซื้อซ้ำและความเหนียวแน่นของนักช้อป

โดยสร้างความแตกต่างในหมวดหมู่สินค้าพรีเมียม แฟชัน และความงาม ซึ่งเป็นจุดแข็งของแพลตฟอร์ม เห็นได้จากยอดขายรวมของ LazMall ในช่วงเมกะแคมเปญ ซึ่งก้าวกระโดดมากกว่า 7 เท่า เมื่อเทียบกับวันปกติ ในขณะที่ LazBEAUTY มีจำนวนสมาชิกในไทยกว่า 1 ล้านราย

ในโค้งสุดท้ายของปี 2567 ลาซาด้า จะเสริมความแข็งแกร่งของ LazMall ผ่านการขยายพันธมิตรแบรนด์เอ็กซ์คลูซีฟ และรุกเซ็กเมนต์สินค้าลักชูรี ผ่านหมวดสินค้า LazMall Premium Brand นอกจากนี้ ยังตอกย้ำ LazLOOK ในฐานะจุดหมายสินค้าแฟชัน ผ่านแคมเปญรายสัปดาห์ที่จะเข้ามาสร้างความตื่นเต้นและสีสันให้แก่นักช้อปอย่างต่อเนื่อง

 ลงทุนด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี

ด้วยความมุ่งมั่นที่จะทำให้การช้อปเป็นเรื่องสะดวกและสนุกยิ่งขึ้น ลาซาด้า ยังนำเทคโน โลยี  AI เข้ามาขับเคลื่อนการพัฒนานวัตกรรมและฟีเจอร์ต่างๆ โดยมี Gamification เป็นกลยุทธ์สำคัญในการสร้างการมีส่วนร่วมกับนักช้อป

ที่ผ่านมา LazGame ได้รับผลตอบรับที่ดีเป็นอย่างมากในประเทศไทย โดยมีผู้เล่นเกมกว่า 1 ล้านคนต่อวัน ซึ่งนักช้อปกลุ่มนี้มีการใช้งานแอปพลิเคชันนานกว่าค่าเฉลี่ยของแพลตฟอร์มถึง 3 เท่า และราว 82% กลับมาใช้งานแอปพลิเคชันเป็นประจำทุกวัน

อีกหนึ่งฟีเจอร์ที่สะท้อนถึงความสำเร็จของการลงทุนด้านนวัตกรรมของลาซาด้า คือ ฟีเจอร์ “ถามผู้ใช้งานจริง (Ask the Buyer)” ซึ่งนำเทคโนโลยี AI มาช่วยตั้งคำถามเชิญชวนให้ผู้ซื้อรายก่อน ๆ มาร่วมรีวิวสินค้า เพื่อช่วยให้ผู้ซื้อรายใหม่ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น โดยปัจจุบันมีการตอบคำถามจากผู้ซื้อจริงไปแล้วกว่า 1.5 ล้านครั้ง

ส่งเสริมและเพิ่มศักยภาพผู้ขายไทย

ด้วยพันธกิจในการสนับสนุนเอสเอ็มอีไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน ลาซาด้า ให้ความสำคัญกับการพัฒนาโซลูชันการตลาดเพื่อสนับสนุนผู้ขายให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมืออาชีพ เช่น เครื่องมือที่ใช้เทคโนโลยี AI ช่วยปรับแต่งรูปภาพ เขียนคำอธิบายสินค้า และให้บริการลูกค้า โดยพบว่าสามารถเพิ่มอัตราการซื้อได้กว่า 30%

ลาซาด้า ยังนำเสนอโปรแกรมสิทธิประโยชน์ที่ออกแบบให้เหมาะสมกับร้านค้าในทุกกลุ่มและทุกก้าวของธุรกิจนอกจากนี้ ยังพัฒนาบริการเสริมที่จะช่วยให้ผู้ขายนำเสนอประสบการณ์ช้อปปิงออนไลน์ที่ผสานกับออฟไลน์ได้อย่างไร้รอยต่อ

เช่น บริการติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าและเฟอร์นิเจอร์ การประกันสินค้าประเภทต่าง ๆ รวมถึงการนำสินค้าเก่ามาแลกสินค้าใหม่ในหมวดโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น

 ในขณะเดียวกัน ลาซาด้า ประเทศไทย ยังได้ผนึกความร่วมมือระยะยาวกับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อส่งเสริมศักยภาพการดำเนินธุรกิจอีคอมเมิร์ซของผู้ประกอบการไทยและขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ

อาทิ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และกรุงเทพมหานคร ผ่านโครงการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง

ใส่ความเห็น