NEWS

‘โอสถสภา’ เดินหน้าภารกิจยั่งยืนตลอดห่วงโซ่คุณค่า มั่นใจบรรลุเป้าหมาย ESG

‘โอสถสภา’ เดินหน้าภารกิจยั่งยืนตลอดห่วงโซ่คุณค่า มั่นใจบรรลุเป้าหมาย ESG
บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) หรือ OSP ผู้นำธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภคของไทย เดินหน้าสร้างความยั่งยืนควบคู่กับการขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโต  โชว์ความคืบหน้าภารกิจ    ด้านความยั่งยืนตามหลัก ESG ที่นำเข้ามาใช้ในทุกภาคส่วนขององค์กรตลอดห่วงโซ่คุณค่าตั้งแต่ปี 2562
โดยการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล  อยู่ในเกณฑ์ที่ดีและเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้  มั่นใจบรรลุเป้าหมายครบ 5 ด้านในปี 2568  พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการแก้
วิกฤตการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change) ควบคู่การมุ่งเป็นองค์กรที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality) ภายในปี 2593
สร้างสรรค์นวัตกรรม เพิ่มคุณภาพชีวิต ลดผลกระทบโลก 
ด้านสิ่งแวดล้อม (E-Environment) โอสถสภาลดผลกระทบที่เกิดจากของเสียบรรจุภัณฑ์และส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนผ่านโครงการ “บรรจุภัณฑ์ยั่งยืน” เพื่อมุ่งลดผลกระทบด้านลบของวัตถุดิบทุกประเภทให้เหลือน้อยที่สุด บริหารจัดการบรรจุภัณฑ์ทั้งก่อนและหลังการใช้ ด้วยการคิดค้นนวัตกรรมลดน้ำหนักบรรจุภัณฑ์เพื่อลดการใช้วัตถุดิบและพลังงาน
อาทิ ขวดแก้วน้ำหนักเบา และเก็บขวดแก้วกลับคืนสู่กระบวนการรีไซเคิล ภายใต้โครงการจากขวดแก้วสู่ขวดแก้ว (Bottle to Bottle) โดยมีเป้าหมายไม่น้อยกว่า 230,000 ตันต่อปี  ปัจจุบัน โอสถสภาสามารถดำเนินโครงการลดผลกระทบที่เกิดจากของเสียบรรจุภัณฑ์และส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนได้ตามเป้าหมาย 100%
ทั้งหมดนี้ เพื่อผลักดันไปสู่เป้าหมายด้านบรรจุภัณฑ์ยั่งยืนของโอสถสภา ที่กำหนดไว้ว่า ภายในปี 2573 บรรจุภัณฑ์ของโอสถสภาทั้ง 100% ต้องสามารถนำไปรีไซเคิล (Recy clable)  ใช้ซ้ำ (Reuseable) หรือ ย่อยสลาย (Decomposable)ได้
นอกจากนี้  โอสถสภายังลดการใช้พลังงานลง 24% ได้เกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ ผ่านโครงการต่างๆ เช่น นำความร้อนกลับมาใช้ผลิตไอน้ำสำหรับใช้ในโรงงานผลิตเครื่องดื่ม  และสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ในกระบวนการผลิตลดลง 28% เกินกว้าเป้าหมายที่กำหนดไว้
จากการติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์ การใช้พลังงานทางเลือก รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต เช่น พลังงานชีวมวล ฯ เพื่อสานเป้าหมายระยะยาวการเป็นองค์กร “Carbon Neutral ปี 2593” และลดการใช้น้ำในกระบวนการผลิตลง 28% เข้าใกล้เป้าหมายที่ตั้งไว้ 40% ในปี 2568
ด้านสังคม (S-Social)
หนึ่งในพันธกิจสำคัญของการดำเนินงานด้านสังคม คือ เสริมสร้างสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้บริโภค  และสามารถบรรลุเป้าหมายเร็วกว่าและดีกว่าแผนที่วาง  โดยปัจจุบัน 99% ของ พอร์ตโฟลิโอเครื่องดื่มในประเทศของโอสถสภา มีส่วนประกอบของน้ำตาลน้อยกว่า 6% ซึ่งคาดว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมาย 100% ได้ในปี 2568
ส่วนกลุ่มสินค้าสุขภาพและลูกอมที่ปรับเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่เติมน้ำตาล บริษัทตั้งเป้าหมายจะทำให้ได้ 50% ของพอร์ต ภายในปี 2568 แต่ปัจจุบันสามารถทำเกินเป้าหมายไปถึง 65% ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์โบตัน และแบนเนอร์โปรตีน
นอกจาก “ลดน้ำตาล” บริษัทยังเติม “คุณประโยชน์” เพื่อตอบรับเทรนด์และความต้องการของผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพมากขึ้น เช่น ‘ซี-วิท’ ได้เพิ่มปริมาณวิตามินซีเป็น 1,000 มิลลิกรัม จาก 120 มิลลิกรัม และครื่องดื่มผสมนมเปรี้ยว ‘คาลพิส’ ที่นอกจากมีจุดเด่นด้วยจุลินทรีย์แลคโตบาซิลลัสสูตรเฉพาะจากประเทศญี่ปุ่น
ยังเพิ่มคุณประโยชน์ด้วยการเติมส่วนผสมไฟเบอร์ 5,000 มิลลิกรัม และ ‘เอ็ม-150 สปาร์คกลิ้ง’ หรือ มิโซซ่า ที่มีวิตามินบี 3, 6 และ 12 ในปริมาณที่เหมาะสม และใช้คาเฟอีนจากธรรมชาติ  นอกจากนี้ ยังเตรียมพร้อมพัฒนาสินค้าสูตรใหม่เพื่อรับความเปลี่ยนแปลง โดยยังคงตอบโจทย์สุขภาพคู่ความอร่อยให้กับผู้บริโภค
ด้านธรรมาภิบาล (G-Government)
โอสถสภามุ่งเสริมสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจเพื่อเติบโตร่วมกับคู่ค้าตลอดห่วงโซ่อุปทาน ทั้งเกษตร คู่ค้า ซัพพลายเออร์ต่างๆ ที่ไม่เพียงเลือกใช้วัตถุดิบทางการเกษตรที่ยั่งยืน  หรือ Sustainable  Sourcing แต่ยังรวมถึงการช่วยสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิตให้คู่ค้าท้องถิ่นที่เป็นเกษตรกร
ด้วยการส่งเสริม สนับสนุนคู่ค้ารายย่อยที่จัดหาวัตถุดิบเศษแก้วเพื่อผลิตบรรจุภัณฑ์และวัตถุดิบสมุนไพรขิง ไร่อ้อย ซึ่งปัจจุบันได้มีการส่งเสริม สนับสนุนแล้ว 458 ราย เกินจากเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่จำนวน 450 ราย  การช่วยพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่จัดหาวัตถุดิบสมุนไพรในท้องถิ่นไปแล้ว 291 ราย จากเป้าหมาย 500 ราย รวมถึงการประเมินด้าน ESG กับ “คู่ค้า” ทั้ง 100% ต่อเนื่องทุกปี เพื่อให้ก้าวทันบริบทการประกอบธุรกิจอย่างยั่งยืนในปัจจุบัน
จากจุดเริ่มต้นของการกำหนดกรอบการดำเนินงานด้านความยั่งยืน เมื่อปี 2562 จนถึงวันนี้ โอสถสภามีความพร้อมและความมั่นใจในทุกก้าวสู่อนาคต เพื่อขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวสู่การเป็นกลางทางคาร์บอนหรือ Carbon Neutral ในปี 2593
โดยใช้กลยุทธ์ “เปลี่ยน ลด ชดเชย” ได้แก่ การเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาดและพลังงานทดแทน การลดการใช้และการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรให้มากขึ้น และการชดเชยการปล่อยคาร์บอนด้วยคาร์บอนเครดิตหรือโครงการชดเชยอื่นๆ
โอสถสภายึดมั่นในการดำเนินธุรกิจบนหลักธรรมาภิบาล มุ่งมั่นสร้างการเติบโตด้านผลกำไรในระยะยาว พร้อมส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่ผู้บริโภค ใส่ใจและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  พร้อมเป็น “พลังเพื่อเสริมสร้างชีวิต”อยู่ร่วมและเติบโตไปพร้อมกับสังคม

ใส่ความเห็น