KTAM แนะลงทุน PVD ให้ตรงไลฟ์สไตล์ พร้อมแนะลงทุน RMF for PVD ต่อเนื่องเพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับผู้ที่ลาออก หรือย้ายงาน
นางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในสภาวะปัจจุบันคนไทยมีความพร้อมในการเกษียณอายุน้อยลงซึ่งอยู่ในระดับต่ำและกระจุกตัวในวงจำกัด
ในขณะเดียวกัน กลับมีแนวโน้มอายุยืนขึ้น จึงยิ่งจำเป็นที่จะต้องเตรียมความพร้อมด้านการเงินให้เพียงพอกับการใช้ชีวิตตลอดอายุขัยมากขึ้น ดังนั้น แหล่งเงินในยามเกษียณที่สำคัญอีกทางก็คือ เงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) ซึ่งเป็นเงินลงทุนที่นักลงทุนควรต้องให้ความสำคัญ ใส่ใจดูแล พร้อมปรับพอร์ตเพื่อให้เข้ากับสภาวการณ์ และควรสร้างวินัยในการออมเพื่ออนาคตที่มั่นคง
KTAM จึงแนะนำกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภายใต้การบริหารของบริษัทฯ ที่มีทางเลือกแผนการลงทุนที่หลากหลาย ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์และความเสี่ยงที่รับได้ของตนเอง
โดยแนะนำ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไทยมั่นคง มาสเตอร์ พูล ฟันด์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว (เน้นการลงทุนผ่านกองทุนรวม) โดยกองทุนนี้มีนโยบายการลงทุนให้เลือกลงทุนถึง 16 นโยบาย ภายใต้ 4 กลุ่มนโยบายหลัก ได้แก่ กลุ่มนโยบายตราสารหนี้ กลุ่มนโยบายผสม กลุ่มนโยบายตราสารทุน และกลุ่มนโยบายทางเลือก
โดยนโยบายการลงทุนทั้ง 16 นโยบายนี้ มีทางเลือกการลงทุนที่หลากหลาย อาทิเช่น กองทุนรวมตราสารหนี้ กองทุนรวมแบบผสม กองทุนรวมหุ้น กองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ กองทุนรวมที่ลงทุนในทองคำ และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
และอีกกองทุนที่แนะนำ คือ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กรุงไทย มาสเตอร์ พูล ฟันด์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว (เน้นการลงทุนตรง) มีให้เลือก 3 นโยบาย ประกอบด้วยนโยบายการลงทุนใน (1) ตราสารหนี้ภาครัฐและภาคเอกชน (2) ตราสารหนี้ภาครัฐ-ภาคเอกชน และหุ้น และ (3) หุ้น (ที่มา: KTAM ข้อมูล ณ วันที่ 17 ม.ค. 68)
(และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กรุงไทย มาสเตอร์ พูล ฟันด์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว (เน้นการลงทุนตรง) โดยมีให้เลือก 3 นโยบายตามระดับความเสี่ยงจากน้อยไปมาก ประกอบด้วยนโยบาย (1) ลงทุนตรงในตราสารหนี้ภาครัฐและภาคเอกชน ประมาณ 100% (2) ลงทุนตรงในตราสารหนี้ภาครัฐและภาคเอกชน 85% และหุ้น 15% และ (3) ลงทุนตรงในหุ้น 100%) กองทุนนี้ไม่เน้นขายจะไม่เอาดีไหม(ที่มา: KTAM ข้อมูล ณ วันที่ 17 ม.ค. 68)
อย่างไรก็ตาม เงินลงทุนใน PVD เป็นเงินออมระยะยาว ที่สมาชิกจะได้ไว้ใช้ในตอนเกษียณอายุหรือตอนออกจากงาน ดังนั้นการจะเลือกแผนการลงทุนที่เหมาะสมนั้น ควรขึ้นอยู่กับความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ยอมรับได้ในปัจจุบัน รวมถึงการประเมินเป้าหมายการใช้เงินหลังเกษียณว่ามีความต้องการใช้เงินต่อเดือนเท่าไร เพื่อประเมินเบื้องต้นได้ว่า ควรจะต้องออมเงินเท่าไร และควรมีผลตอบแทนเท่าใดจึงจะเพียงพอกับเป้าหมายในการลงทุน
นอกจากนี้ นักลงทุนที่ย้ายงาน หรือลาออกจากงานก่อนอายุเกษียณ ยังไม่ต้องการรับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และไม่ประสงค์จะคงเงินไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดิม ก็สามารถโอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มาลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหรือที่เรียกว่า “RMF for PVD” ซึ่งเป็นกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับเงินโอนจาก PVD เพื่อให้สมาชิกกองทุนที่ยังทำงานอยู่แต่นายจ้างยกเลิก PVD หรือสมาชิกกองทุนที่ออกจากงานไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม สามารถลงทุนต่อเนื่องจาก PVD เพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษีได้
โดยสิทธิประโยชน์ของผู้ลงทุน RMF for PVD ภายใต้การบริหารของบริษัทฯ ซึ่งนอกจากสิทธิประโยชน์ทางภาษีต่อเนื่อง สำหรับผู้ที่ออกจากงานก่อนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์แล้ว บริษัทฯ ยังนำเสนอกองทุนที่หลากหลายเพื่อเป็นทางเลือกการลงทุน พร้อมทั้งฟรีค่าธรรมเนียมซื้อ – ขาย และสับเปลี่ยนกองทุนด้วย
สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บลจ.กรุงไทยโทร.0-2686-6100 กด 9 หรือ https://bit.ly/3CepCoW
คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ หากลงทุนไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด อาจต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษี และเสียเงินเพิ่ม
ยักษ์ลงทุน https://www.yaklongtun.com/