KTAM มองภาพรวมเศรษฐกิจปี 2568 มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องแม้อาจชะลอลงจากปีก่อน แนะโอกาสเติบโตระยะยาวจากโอกาสการลงทุนใหม่ พร้อมมองหาการป้องกันความเสี่ยง
นางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทยจำกัด (มหาชน) หรือ KTAM เปิดเผยถึงภาพรวมเศรษฐกิจและการลงทุนทั่วโลกในปี 2568 นี้ว่า เศรษฐกิจทั่วโลกยังคงมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ถึงแม้ยังเผชิญกับความเสี่ยงในหลายด้าน
อาทิ นโยบายการขึ้นภาษีสินค้านำเข้า (Tariff) ท่าทีของเฟดต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ มุมมองของนักลงทุนจากหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นในหลายประเทศ รวมถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและภาคอสังหาฯ ของจีน ที่รัฐบาลได้ส่งสัญญาณว่าจะออกมาตรการเพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น
รวมถึงการขยายตัวของธุรกิจ AI ในจีนก็ทำให้หุ้นเทคโนโลยีของจีนปรับตัวดีขึ้นในปีนี้อย่างไรก็ตาม ประเด็นเรื่องภาษีจากสหรัฐฯ ยังคงเป็นความเสี่ยงสำคัญที่อาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอื่นๆ ที่ยังคงต้องติดตามว่าจะมีพัฒนาการไปในด้านใด
นอกจากนี้ เศรษฐกิจในหลายๆ ภูมิภาคเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวดีขึ้น โดยประเทศในยุโรปเริ่มคลายความกดดันจากเงินเฟ้อและดอกเบี้ยที่สูงก่อนหน้านี้ รวมถึงเศรษฐกิจไทยที่มองว่าจะยังคงขยายตัวต่อเนื่องเช่นกัน
ถึงแม้ว่าจะเผชิญกับความเสี่ยงจากนโยบายกีดกันทางการค้าที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบทางตรงต่อภาคการส่งออกของไทย และส่งผลทางอ้อมที่อาจเข้ามากระทบภาคการท่องเที่ยวไทยหากเศรษฐกิจของประเทศต้นทางของนักท่องเที่ยวอ่อนแอลงจากสงครามการค้า อย่างไรก็ตาม เรายังมองว่าระดับปัจจุบันเป็นโอกาสในการลงทุนของนักลงทุนระยะยาว
จากท่ามกลางความไม่แน่นอนที่สูงขึ้น ทำให้นักลงทุนหันมาใช้กลยุทธ์การกระจายความเสี่ยง ลดการกระจุกตัว ประกอบกับความไม่แน่นอนในเชิงนโยบายของสหรัฐฯ จึงเห็นการเคลื่อนย้ายเม็ดเงินลงทุนจากสหรัฐฯ ที่เคยโดดเด่นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ไปยังภูมิภาคอื่นๆ โดยในช่วงต้นปี 2025 นี้ เราจึงแนะนำกลยุทธ์ในการลงทุน 4 ด้าน ประกอบด้วย
(1) ลงทุนอย่างต่อเนื่อง (Stay Invested) ในช่วงวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้มักจะผันผวนไปในทิศทางเดียวกัน การถือเงินสดจึงเป็นทางเลือกในการลดความเสี่ยงของพอร์ต
แต่เมื่อผ่านพ้นวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นไป สินทรัพย์หลักสองประเภทนี้จะผันผวนไปในทิศทางตรงกันข้ามกัน ทำให้พอร์ตที่มีกระจายความเสี่ยงที่ดีจะช่วยลดความผันผวนได้อยู่แล้ว ความจำเป็นการถือเงินสดจึงลดลง
(2) มองหาการป้องกันความเสี่ยง (Seek Hedging) ตลาดการลงทุนอาจมีความผันผวนมากขึ้น ดังนั้น การป้องกันความเสี่ยงให้กับพอร์ตจึงมีความจำเป็น โดยการป้องกันความเสี่ยงสามารถทำได้ในหลายรูปแบบ ทั้งการกระจายความเสี่ยง การลดการกระจุกตัวในการลงทุน การลงทุนบางส่วนในหุ้นที่มีความผันผวนต่ำ หรือการถือสินทรัพย์ปลอดภัย
3) นโยบายใหม่ โอกาสใหม่ (New Policies, New Opportunities) การเปลี่ยนขั้วทางการเมืองในหลายประเทศ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบายเกิดขึ้น ซึ่งเปิดให้มีโอกาสลงทุนใหม่ๆ เกิดขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นการจัดสรรผลประโยชน์เศรษฐกิจโลกใหม่ การลดกฎระเบียบในการควบคุมดูแลธุรกิจซึ่งอาจจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการเร่งการใช้จ่ายของภาครัฐในกลุ่มประเทศที่รัดเข็มขัด และ
(4) มุ่งการเติบโตระยะยาว (Long-term Growth Oriented) กระแสการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลกในมิติต่างๆ ทำให้เกิดแรงผลักดันสำหรับการเติบโตระยะยาว โดยเฉพาะพัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) นอกจากนี้ มิติสุขภาพ ก็ยังมีความสำคัญในสังคมที่มีความสูงวัยขึ้นต่อเนื่อง
โดยการลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศ เราได้แนะนำ กองทุนเปิดเคแทม เวิลด์ อิควิตี้ ฟันด์ (KT-WEQ) (ความเสี่ยงระดับ 6) เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน AB Low Volatility Equity Portfolio (กองทุนหลัก)
โดยกองทุนหลักมีนโยบายลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานที่มีความผันผวนต่ำ และมีความเสี่ยงในการปรับตัวลงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตในระดับที่ต่ำ ซึ่งเน้นลงทุนในบริษัทที่อยู่ในประเทศพัฒนาแล้ว (DM) เป็นหลัก รวมถึงกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ด้วย
กองทุนเปิดเคแทม ไชน่า อิควิตี้ ฟันด์ (KT-CHINA) (ความเสี่ยงระดับ 6) เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน BGF China Fund (กองทุนหลัก) โดยกองทุนหลักเน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทที่มีภูมิลำเนาหรือได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจในจีน และ
กองทุนเปิดเคแทม เวิลด์ เฮลธ์แคร์ ฟันด์ (KT-Healthcare) (ความเสี่ยงระดับ 7) เน้นลงทุนใน Janus Henderson Global Life Sciences Fund (กองทุนหลัก) โดยกองทุนหลักเน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทต่าง ๆ ทั่วโลก ที่มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต ซึ่งเกี่ยวข้องกับการรักษาหรือการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ทั้งนี้ จากความกังวลเศรษฐกิจถดถอยยังคงมีอยู่ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ และยังคงมีเงินไหลออกจากสินทรัพย์เสี่ยงเรื่อยๆ เราจึงคาดว่ากลุ่ม Health care จะมีโอกาสสร้างผลตอบแทนดีขึ้นจากที่เป็นหุ้นกลุ่ม Defensive
สำหรับตลาดหุ้นไทย เรามองว่าเศรษฐกิจยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง แม้ว่าอาจจะยังต่ำกว่าระดับศักยภาพเล็กน้อย โดยคาดอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไว้ที่ 2.8% ในปี 2568 และ 3.0% ในปี 2569 อีกทั้งผลการดำเนินงานไตรมาส 4 ปี 2567 ของบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่บางแห่งก็ออกมาต่ำกว่าที่คาด
อย่างไรก็ตาม การปรับตัวลงของตลาดหุ้นไทยทำให้หุ้นหลายตัวมีราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าตามปัจจัยพื้นฐานค่อนข้างมาก จึงถือเป็นโอกาสในการลงทุนระยะยาวได้เป็นอย่างดี ซึ่งคาดว่าการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนฯ อาจจะมีแนวโน้มดีขึ้น โดยคาดว่าจะขยายตัวประมาณ 20% หลังจากที่หดตัวไปที่ประมาณ -6% ในปีก่อนหน้า
จึงแนะนำ กองทุนเปิดกรุงไทยหุ้นทุนปันผล (KTSF) (ความเสี่ยงระดับ 6) เน้นลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียนใน SET ที่มีปัจจัยพื้นฐานดีมีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนที่ดี และ
กองทุนเปิดกรุงไทย หุ้นไฮดิวิเดนด์ (KT-HiDiv) (ความเสี่ยงระดับ 6)
เน้นลงทุนในตราสารทุนของบริษัทที่จดทะเบียนใน SET ที่มีปัจจัยพื้นฐานผลการดำเนินงานที่ดี มีประวัติการจ่ายเงินปันผลที่ดีสม่ำเสมอ และ/หรือมีศักยภาพในการจ่ายเงินปันผลในอนาคต นอกจากนี้ กองทุน KT-HiDiv-D ยังได้รับรางวัลกองทุนยอดเยี่ยมจาก Morningstar Awards for Investing Excellence ในกลุ่มกองทุนหุ้นขนาดใหญ่มา 2 ปีติดต่อกัน คือ ปี 2024 และปี 2025
สำหรับตลาดตราสารหนี้ต่างประเทศ ในปี 2567 ค่อนข้างผันผวนไปตามมุมมองทิศทางดอกเบี้ยของเฟด ซึ่งได้มีการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงในช่วงครึ่งหลังของปี แต่กลับมาคงดอกเบี้ยในช่วงต้นปี 2568 นี้ เพื่อรอความชัดเจนจากนโยบายด้านต่างๆ ของสหรัฐฯ และประเมินผลกระทบจากการลดดอกเบี้ยไปก่อนหน้านี้
ทั้งนี้ เรายังคงมองว่าเฟดและธนาคารกลางอื่นๆ ยังมีแนวโน้มลดดอกเบี้ยลงต่อในปีนี้ เราจึงมีมุมมองค่อนข้างเชิงบวกสำหรับตราสารหนี้ต่างประเทศ
ส่วนตลาดตราสารหนี้ไทย ผลตอบแทนของพันธบัตรรุ่นต่างๆ ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง จากภาพเศรษฐกิจที่อ่อนแอและการลดดอกเบี้ยของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในช่วงที่ผ่านมา โดยคาดว่าดอกเบี้ยนโยบายอาจปรับลงได้อีกในปีนี้
จากการประเมินดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.75% ณ สิ้นปี 2568 จึงอาจยังมีโอกาสที่ผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลไทยยังสามารถปรับตัวลดลงได้อีกเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม นักลงทุนได้รับรู้การลดดอกเบี้ยของ กนง. ในอนาคตไปค่อนข้างมากแล้ว เราจึงมีมุมมองเป็นกลางสำหรับตราสารหนี้ไทย จึงแนะนำ
กองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้ พลัส (KTFIXPLUS) (ความเสี่ยงระดับ 4) เน้นลงทุนในตราสารหนี้ทั้งในและต่างประเทศ โดยลงทุนในต่างประเทศได้ไม่เกินร้อยละ 50 ของ NAV ทั้งนี้ กองทุนมีนโยบายจัดการอายุเฉลี่ยของตราสารหนี้ในพอร์ตโฟลิโอที่ยืดหยุ่นเพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะตลาด และ
กองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้ระยะสั้นพลัส (KTSTPLUS) (ความเสี่ยงระดับ 4) เน้นลงทุนในตราสารหนี้ เงินฝากหรือตราสารเทียบเท่าเงินฝาก และ/หรือตราสารทางการเงินซึ่งมีอันดับความน่าเชื่อถือในระดับที่สามารถลงทุนได้ โดยเฉลี่ยอายุตราสารไม่เกิน 1 ปี
อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมการลงทุนในปีนี้ ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจโลกยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง แต่คาดว่าจะชะลอลงจากปีก่อนหน้า และที่สำคัญคือมีความไม่แน่นอนสูงขึ้น ดังนั้นกลยุทธ์การจัดพอร์ตการลงทุนทั้ง 4 ด้านข้างต้น อาจจะเป็นตัวช่วยในการลงทุนในปีนี้ได้เป็นอย่างดี
ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลและขอรับหนังสือชี้ชวนได้ทุกวันทำการได้ที่ บลจ.กรุงไทย โทร. 0-2686-6100 กด 9 หรือธนาคารกรุงไทยและผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (ถ้ามี) หรือศึกษารายละเอียดได้ที่ www.ktam.co.th สนใจเปิดบัญชีผ่านแอปพลิเคชั่น KTAM Smart Trade ได้ที่ https://bit.ly/KTSTSignIn
ยักษ์ลงทุน http://www.yaklongtun.com