NEWS SPECIAL

KTB เผยส่งออกเดือน ส.ค.โต 7.5%YoY จับตา ศก.โลกอ่อนแรงกดดันการส่งออก

Key Highlights

  • ส่งออกเดือน ส.ค. เติบโต 7.5%YoY เร่งขึ้นเมื่อเทียบกับ 4.3% ในเดือนก่อน จากการคลี่คลายของปัญหาการขาดแคลนชิพเซมิคอนดักเตอร์ที่ส่งผลดีต่อการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ประกอบกับความต้องการสินค้าเกษตรและอาหารที่เพิ่มขึ้น รวมถึงค่าเงินบาทที่อ่อนค่า ทั้งนี้การส่งออกทองคำกลับมาขยายตัว 7% ทำให้เมื่อหักทองคำแล้ว มูลค่าส่งออกเดือนนี้ขยายตัว 7.4%YoY
  • Krungthai COMPASS คาดการส่งออกในช่วงที่เหลือของปีนี้มีแนวโน้มชะลอลง จากเศรษฐกิจของประเทศตลาดหลักที่มีสัญญาณอ่อนแรง นอกจากนี้ การส่งออกสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์มีแนวโน้มแผ่วลงสะท้อนจากเครื่องชี้ความต้องการเซมิคอนดักเตอร์ที่ชะลอตัว อย่างไรก็ตามการส่งออกสินค้ากลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรมีทิศทางดีขึ้นต่อเนื่องตามความต้องการสินค้ากลุ่มอาหาร 

ชนม์นิธิศ ไชยสิงห์ทอง
Krungthai COMPASS

 

มูลค่าส่งออกในรอบ 8 เดือนแรกขยายตัว 11% 

มูลค่าส่งออกเดือน ส.ค. อยู่ที่ 23,632 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว 7.5%YoY เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่เพิ่มขึ้น 4.3%YoY ซึ่งเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 18 จากการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่เร่งตัวขึ้นเนื่องจากปัญหาการขาดแคลนชิพเซมิคอนดักเตอร์ที่คลี่คลายลงส่งผลดีต่อการส่งออกรถยนต์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ให้กลับมาขยายตัวได้ ขณะที่การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรขยายตัวต่อเนื่องตามความต้องการสินค้าเกษตรและอาหาร รวมถึงค่าเงินบาทที่อ่อนค่าขึ้นส่งผลให้การส่งออกยังเติบโตได้ดี โดยการส่งออกในช่วง 8 เดือนแรกขยายตัว 11.0% ส่วนการส่งออกทองคำเดือนนี้กลับมาขยายตัว 16.7% ทำให้เมื่อหักทองคำแล้ว มูลค่าส่งออกเดือนนี้ขยายตัว 7.4%YoY

ด้านการส่งออกรายสินค้า บางส่วนขยายตัวต่อเนื่อง 

  • การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 18 ที่ 2%YoY เร่งขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนที่ขยายตัวเพียง 0.1%YoY จากการกลับมาขยายตัวของการส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ (+22.5%YoY) การขยายตัวต่อเนื่องของการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ (+31.2%YoY) แผงวงจรไฟฟ้า (+25.1%YoY) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (+15.6%YoY) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (+61.1%YoY) เป็นต้น อย่างไรก็ตามสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน (-11.4%YoY) และผลิตภัณฑ์ยาง (-0.2%YoY) ยังคงหดตัวต่อเนื่อง
  • การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 21 ที่ 6%YoY
    แต่ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัว
    14.6%YoY
    โดยมีปัจจัยหลักจากการหดตัวของยางพารา (-2.8%YoY) ที่กลับมาหดตัวในรอบ 4 เดือน และผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง (-63.8%YoY) อย่างไรก็ดีสินค้าหลายชนิดขยายตัวได้ดีโดยเฉพาะข้าว (+15.3%YoY) น้ำตาลทราย (+173.5%YoY) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป (+18.5%YoY) และไก่สดแช่เย็น/แช่แข็ง/แปรรูป (+125.4%YoY)
    ด้านการส่งออกรายตลาด ส่วนใหญ่ยังขยายตัว

    • สหรัฐฯ : ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 27 ที่ 3%YoY เร่งขึ้นจากเดือนก่อน โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น (ส่งออก 8 เดือนแรกขยายตัว 17.8%)
    • จีน : หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ที่ -20.1%YoY โดยสินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ ผลไม้สด แช่เย็น
      แช่แข็งและแห้ง เม็ดพลาสติก และรถยนต์ เป็นต้น ส่วนสินค้าที่ขยายตัว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง และไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง เป็นต้น (ส่งออก 8 เดือนแรกหดตัว -5.0%)
    • ญี่ปุ่น : กลับมาขยายตัวในรอบ 3 เดือน ที่ 6%YoY โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ไก่แปรรูป น้ำมันสำเร็จรูป ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง รถยนต์ และเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น (ส่งออก 8 เดือนแรกขยายตัว 1.2%)
    • EU27 : ขยายตัวเป็นเดือนที่ 4 ที่ 0%YoY เร่งขึ้นจากเดือนก่อน โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ ไก่แปรรูป และแผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า เป็นต้น (ส่งออก 8 เดือนแรกขยายตัว 7.5%)
    • ASEAN5 : ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 16 ที่ 8%YoY ชะลอลงจากเดือนก่อน โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ น้ำตาลทราย รถยนต์ แผงวงจรไฟฟ้า และเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น (ส่งออก 8 เดือนแรกขยายตัว 21.8%)


    มูลค่าการนำเข้าเดือน ส.ค. อยู่ที่ 27,848 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว 21.3%YoY ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนที่ขยายตัว 23.9%YoY จากการหดตัวต่อเนื่องของสินค้ายานพาหนะฯ (-4.5%YoY) และการขยายตัวที่ชะลอลงของสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (+13.7%YoY) และสินค้าเชื้อเพลิง (+77.4%YoY) อย่างไรก็ตามสินค้าทุน (+5.3%YoY) และสินค้าอุปโภคบริโภค (+10.7%YoY) กลับมาขยายตัว ด้านดุลการค้าเดือน ส.ค. ขาดดุลต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ที่ระดับ -4,215 ล้านดอลลาร์ฯ โดยดุลการค้า 8 เดือนแรกขาดดุลสะสม -14,131 ล้านดอลลาร์ฯ

Implication:

  • Krungthai COMPASS คาดการส่งออกมีแนวโน้มชะลอลงจากเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแรง โดยเฉพาะตลาดหลักทั้งสหรัฐฯ ยุโรป และจีน เนื่องจากเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอลงสะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (Manufacturing PMI) เดือนสิงหาคมที่ปรับลดลง จากปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อส่งผลให้ราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้นโดยเฉพาะในยุโรป ปัญหาภัยแล้งและการแพร่ระบาดระลอกใหม่ในจีนทำให้มีการประกาศล็อกดาวน์ในช่วงปลายเดือนสิงหาคม รวมถึงเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ชะลอลงจากการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดเพื่อลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจ เครื่องชี้ดังกล่าวสะท้อนแนวโน้มการส่งออกของไทยในระยะข้างหน้าอาจได้รับผลกระทบจากอุปสงค์ของตลาดหลักที่ชะลอลง
  • จับตาทิศทางการส่งออกสินค้ากลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรมีทิศทางดีขึ้น ขณะที่สินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์มีแนวโน้มปรับตัวสวนทางกัน แม้ว่าการส่งออกสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์จะเติบโตดีนับตั้งแต่การแพร่ระบาดของโควิดจากอานิสงค์ของกระแสสินค้าเทคโนโลยี แต่มีแนวโน้มชะลอลงหลังสถานการณ์แพร่ระบาดคลี่คลายลงในหลายประเทศทำให้สินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ที่จำเป็นต้องใช้ในช่วงล็อคดาวน์ปรับลดลง ทำให้ยอดคำสั่งซื้อเซมิคอนดักเตอร์ของโลกเข้าสู่ช่วงขาลงและอาจกระทบต่อผู้ส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์บางชนิด อย่างไรก็ดี ผู้ส่งออกในกลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรมีแนวโน้มได้รับผลดีจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง รวมถึงการปรับขึ้นภาษีส่งออกข้าวของอินเดียซึ่งเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่จะทำให้ผู้ส่งออกได้รับประโยชน์จากราคาที่ปรับสูงขึ้น

ใส่ความเห็น