ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ พัฒนาศักยภาพบุคลากร กลั่น DNA เพิ่มประสบการณ์จริงผ่าน Role Model เพื่อส่งมอบงานคุณภาพสู่ผู้บริโภคอย่างมืออาชีพ
ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ เดินหน้าแผนการพัฒนาความแข็งแกร่งขององค์กรจากภายในผ่านค่านิยมองค์กร ‘LALIN DNA’ พร้อมก้าวสู่โลกธุรกิจยุคใหม่ด้วยการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนมุมมองประสบการณ์ของบุคลากรในองค์กร สร้างทางลัดสู่ความสำเร็จร่วมกันเพื่อส่งมอบสินค้าและบริการคุณภาพสู่มือผู้บริโภค
นายชูรัชฏ์ ชาครกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ (LALIN) ผู้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์คุณภาพภายใต้คอนเซ็ปต์ ‘บ้านที่ปลูกบนความตั้งใจที่ดี’ เดินหน้านโยบายพัฒนาศักยภาพบุคลากรทุกส่วนเพื่อวางรากฐานในการก้าวสู่การเป็น National Property Company เพื่อส่งมอบที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพให้กับกลุ่มลูกค้า
โดยได้เผยถึงแผนงานดังกล่าวว่า “เพราะเราเชื่อว่าทุกๆ ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นภายในองค์กรมีคุณค่าในตัวเองเสมอ การนำคุณค่าเหล่านั้นมาแลกเปลี่ยนกันจึงเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้เกิดการพัฒนาศักยภาพอย่างไม่มีวันสิ้นสุด”
นายชูรัชฏ์ กล่าวถึงที่มาของการพัฒนาให้ ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ ก้าวสู่การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ “ที่ผ่านมา เรามีการจัดฝึกอบรมโดยได้เชิญทั้งวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนบุคลากรที่สั่งสมประสบการณ์ในด้านต่างๆ มาอย่างยาวนานในฐานะ Role Model มาร่วมนำเสนอข้อมูลความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์จริง
กลั่นกรองให้ได้แนวทางการดำเนินงานที่ดีที่สุด เพื่อเป็นทางลัดสู่การเพิ่มประสิทธิภาพงาน ช่วยสร้างให้สังคมการทำงานของ ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ เต็มไปด้วยความสุข ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืนและสามารถส่งมอบงานที่มีคุณภาพสู่มือผู้บริโภคได้ตามยุทธศาสตร์ที่องค์กรได้กำหนดเป้าหมายไว้”
ทั้งนี้ นโยบายการพัฒนาบุคลากรของ ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ จะถูกขับเคลื่อนภายใต้แนวคิดการพัฒนาค่านิยม ‘LALIN DNA’ สู่ความเป็นเลิศ ซึ่งครอบคลุม 5 แนวคิด ประกอบด้วย
• Inspiration การสร้างแรงบันดาลใจในการทำงาน ด้วยการพัฒนา Lalin Academy ศูนย์รวมโลกแห่งการเรียนรู้ที่จะนำพนักงานเข้าสู่โลกเสมือนจริงของชีวิตการทำงาน โดยมีวิทยากรมืออาชีพมาร่วมถ่ายทอดความรู้ กันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้พนักงาน สามารถต่อยอดไอเดียใหม่ๆ และเพิ่มแพชชั่นในการทำงานแบบไม่รู้จบ
ซึ่งจะเป็นการผสมผสานเชิงบูรณาการทั้งด้าน Re-Skill การปรับปรุงทักษะ และปรับ Mindset ของพนักงานที่จะช่วยส่งเสริมให้สามารถพัฒนาตนเองได้ตลอดเวลา พร้อมรับมือรู้เท่าทันโลกยุคปัจจุบันที่มีการแข่งขันสูง ทำให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ Up Skill การเพิ่มทักษะในการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
เช่น การฝึกฝนและนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาปรับใช้พร้อมรองรับการทำงานในอนาคต เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วและประหยัดเวลา New Skill การสร้างทักษะใหม่ๆให้รู้เท่าทันเทคโนโลยี เช่น การนำสื่อดิจิทัลเข้ามาช่วยในเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกให้มีความแม่นยำเพิ่มมากขึ้น โดยสามารถนำมาปรับใช้ในการพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์และตรงใจลูกค้าได้เป็นอย่างดี
• Proactive การทำงานเชิงรุก เป็นการทำงานที่มีการวางแผน มุ่งเน้นการดำเนินงานตามแผนงานที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน สามารถคาดการณ์ถึงปัญหาหรืออุปสรรคที่อาจเกิดขึ้น พร้อมหาวิธีการรับมือแก้ปัญหาเหล่านั้น เป็นการช่วยลดความเสี่ยงและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ดังนั้นเรื่องการวางแผนการทำงานจึงเป็นสิ่งสำคัญที่บริษัทฯ ให้ความสำคัญ เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพในระยะยาว และเกิดความมั่นคงในองค์กร
• Never Give Up การไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ เป็นองค์กรที่คิดบวก เพราะฉะนั้นการทำงานในทุกวันย่อมต้องมีความท้าทายใหม่ๆ เข้ามาทดสอบไหวพริบอยู่เสมอ ดังนั้นการแก้ไขปัญหาที่รวดเร็วและ รอบคอบ จะทำให้การทำงานสามารถก้าวผ่านอุปสรรคต่างๆ ได้อย่างสำเร็จและบรรลุเป้าหมายที่วางไว้
• Team Work การทำงานเป็นทีม มีการวางแผนและให้การสนับสนุนร่วมกัน เพื่อให้งานสำเร็จบรรลุเป้าหมายและสร้างความพึงพอใจที่ดีให้แก่ลูกค้า เพราะเราเชื่อว่าทีมที่แข็งแรงจะสามารถผลักดันให้องค์กรก้าวไป สู่ความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน
• Work Life Balance การสร้างสมดุลให้กับชีวิตการทำงาน เต็มที่กับงานและแบ่งเวลาพักผ่อนกับกิจกรรมดีๆ บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการบริหารเวลาการทำงานและการสร้างความสุขในชีวิตส่วนตัวอย่างสมดุล ที่ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ มีช่วง Happy Hour หลังเวลาเลิกงาน เพื่อให้พนักงานได้เล่นกีฬากับกลุ่มเพื่อนๆ เป็นการสร้างความสามัคคีและสร้างความผ่อนคลายจากการทำงาน บริษัทฯ มีความเชื่อว่า ความสุขของพนักงานคือพื้นฐานแรกที่สำคัญในการเตรียมความพร้อมสู่การทำงานในวันใหม่ๆ
จากค่านิยม LAIN DNA เป็นเสมือนแนวทางปฏิบัติของพนักงานบริษัท มากว่า 36 ปี จะสร้างความแข็งแกร่งจากภายในสู่ภายนอกได้อย่างยั่งยืน นายชูรัชฏ์ กล่าวสรุป
Post Views: 278