NEWS

“บล.พาย”ประเมิน SET INDEX สัปดาห์นี้กรอบ 1670 – 1700 จุด

บทวิเคราะห์จาก บริษัทหลักทรัพย์ พาย จำกัด (มหาชน) หรือ “Pi” “พาย” มองว่า ตลาดหุ้น Dow Jones ปิดลบ 0.38% หลังจากสหรัฐฯรายงานการจ้างงานนอกภาคเกษตรขยายตัวแข็งแกร่งกว่าตลาดประเมินไว้ส่งผลให้กังวลกับนโยบายการเงินขึ้นเข้มงวด ด้านราคาน้ำมันดิบ BRT ลดลง ถูกกดดันจากอุปสงค์ในจีนและดอกเบี้ยขาขึ้น

สหรัฐฯรายงานการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ 5.17 แสนรายสูงกว่าตลาดคาดการณ์ที่ 1.93 แสนรายพร้อมกับอัตราการว่างงานที่ 3.4% ดีกว่าตลาดคาดการณ์ที่ 3.6% องค์ประกอบภายในพบว่า Sector ที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะได้แก่ Private Service Providing , Retail Trade , Private education and health service , Leisure and Hospitality การเพิ่มขึ้นในแต่ละ Sector สะท้อนถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่างไรก็ตามข้อมูลในอดีตชี้ว่าในบางช่วงที่อัตราการว่างงานต่ำจะเป็นปัจจัยหนุนให้เงินเฟ้ออยู่ระดับสูงเนื่องจากอุปสงค์แรงงานยังแข็งแกร่งก็ถือเป็นปัจจัยที่ต้องติดตามใกล้ชิดเพราะหากเงินเฟ้อไม่ลงเหมือนที่ตลาดประเมินไว้ และ FED กลับมาใช้นโยบายการเงินตึงตัวอีกครั้งก็จะกดดันตลาดหุ้น ส่วนสัปดาห์นี้ติดตามเงินเฟ้อไทยในวันจันทร์ Bloomberg Consensus ประเมินไว้ที่ 5.1%YoY ลดลงจากเดือนก่อนที่ 5.9%YoY หากลดลงตามที่ตลาดประเมินไว้หรือต่ำกว่าตลาดประเมินไว้ก็จะเป็นปัจจัยบวกต่อตลาดหุ้นไทยต่อเนื่อง รวมถึงผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน 4Q22 Bloomberg ประเมินไว้ว่า PSL IRPC KCE ADVANC TOP รายงานในสัปดาห์นี้ หากรายงานสูงกว่าตลาดประเมินไว้ก็จะเป็นบวกต่อหุ้นนั้นๆและภาพรวมของการลงทุน ส่วนต่างประเทศติดตาม (1) ประธาน FED มีกำหนดแถลงให้ข้อมูลในวันพุธช่วงเที่ยงคืนก็จะทราบผลอย่างเป็นทางการเช้าวันพุธ ตลาดน่าจะไปจับตารอดูถ้อยแถลงด้านดอกเบี้ยและเงินเฟ้ออีกครั้ง (2) ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯในวันพฤหัสบดี Bloomberg ประเมินไว้ที่ 1.9 แสน ทั้งนี้ด้วยภาคแรงงานสหรัฐฯที่ยังแกร่งประเมินตลาดหุ้นโลกจะเคลื่อนไหว Sideway – Sideway Down เพื่อรอดูเงินเฟ้อสหรัฐฯในวันที่ 14 ก.พ. รวมถึง SET INDEX จึงประเมินสัปดาห์นี้กรอบ 1670 – 1700

เชิงกลยุทธ์การลงทุนระยะสั้นระมัดระวังอิเล็กทรอนิกส์ (HANA KCE) การปรับลงของ Nasdaq เป็นตัวกดดัน หุ้นแนะนำยังเน้น Defensive อาทิ โรงพยาบาล (BDMS) สื่อสาร (ADVANC) โรงไฟฟ้า (BGRIM GPSC GULF RATCH) ส่งออก (ASIAN TU) ผลพวงค่าเงินบาทอ่อนค่า รวมถึง Domestic Play ที่ได้ประโยชน์ฟื้นตัวเศรษฐกิจในประเทศ ค้าปลีก (BJC HMPRO) ท่องเที่ยว (AOT CENTEL ERW MINT SPA) ร้านอาหาร (M)

TU (ซื้อ / ราคาเป้าหมาย 23.50 บาท) คาด 4Q22 ของ TU มีกำไรสุทธิที่ 1,371 ลบ. (-23%YoY,-46%QoQ) ผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในช่วงปลายไตรมาสทำให้มีผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเข้ามากว่า 300 ลบ. ถ้าไม่รวมกำไรปกติอยู่ที่ 1,671 ลบ. (-10%YoY,-7%QoQ) แม้ค่าเงินบาทโดยเฉลี่ยจะยังอ่อนกว่าปีก่อนอีก 9% ทำให้รายได้ยังคงเห็นการเติบโตได้เล็กน้อยมาอยู่ที่ 39,592 ลบ. (+3%YoY,-3%QoQ) การลดลง 3Q22 ผลฤดูกาล

HMPRO (ซื้อ / ราคาเป้าหมาย 18.00 บาท) คาดกำไร 4/22 ที่ 1.7 พันล้านบาท (-4%YoY, +11%QoQ) ถูกกดดันจากต้นทุนสาธารณูปโภคที่สูงขึ้น แต่คาดรายได้แตะจุดสูงเป็นประวัติการณ์ หนุนจากการเติบโตของยอดขายสาขาเดิม (SSSG) ที่ 2%YoY (HomePro +2.4%, Mega Home ทรงตัวYoY HomePro Malaysia +12%) ขณะที่คาดว่ากำไรปี 2023 จะทำจุดสูงใหม่ ผลจากการขยายสาขา Mega Home ในเชิงรุก การบริโภคที่ฟื้นตัวก่อนเลือกตั้ง

ใส่ความเห็น