M-USTBILL
FUND

MFC เสิร์ฟกองทุน M-USTBILL ลงทุนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ  IPO 2–7 ก.พ. 67

บลจ.เอ็มเอฟซี เปิดขาย “กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี ยูเอส เทรเชอรี่ บิล” (M-USTBILL) ลงทุนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุคงเหลือไม่เกิน 1 ปี  ชูจุดเด่นได้อัตราผลตอบแทนสูงในรอบ 20 ปี ความมั่นคงสูง ความเสี่ยงต่ำ เปิดให้ซื้อขายหน่วยลงทุนทุกระยะเวลาประมาณ 6 เดือน เหมาะกระจายการลงทุน สร้างโอกาสรับผลตอบแทนสูงกว่าพันธบัตรในประเทศ  เสนอขาย IPO ตั้งแต่ 2–7 ก.พ 67

นายธนโชติ รุ่งสิทธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการกองทุนคุณภาพทั้งในและต่างประเทศ เปิดเผยว่า ตราสารหนี้ยังเป็นสินทรัพย์ที่น่าสนใจลงทุนในปี 2567 และเป็นจังหวะเข้าลงทุนพันธบัตรสหรัฐอเมริกา จากการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ล่าสุด ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 5.25 – 5.50%

และมีแนวโน้มจะรักษาอัตราดอกเบี้ยไว้ ทำให้ความผันผวนของราคาน้อยลง อีกทั้งอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เมื่อเปรียบเทียบกับพันธบัตรรัฐบาลไทย มีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยกว้างมากที่สุดและคาดว่าจะยังคงอยู่ต่อไปอีก 12–24 เดือน

บลจ.เอ็มเอฟซี พร้อมเปิดเสนอขายกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี ยูเอส เทรเชอรี่ บิล (M-USTBILL) โดยกองทุน  M-USTBILL มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตร ที่ออกโดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่มีอายุคงเหลือไม่เกิน 1 ปี และ/หรือกองทุนรวมอีทีเอฟ (ETF) หรือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ที่มีอายุคงเหลือไม่เกิน 1 ปี

โดยมีอัตราส่วนการลงทุนรวมกันทุกขณะไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ทั้งนี้ กองทุนมีการลงทุนที่ส่งผลให้มี Net Exposure ที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงต่างประเทศโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน

นอกจากนี้ กองทุนอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่อาจเกิดขึ้นได้จากการลงทุนในต่างประเทศ ตามความเหมาะสมและสภาวการณ์ในแต่ละขณะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจที่ผู้จัดการกองทุนเห็นเหมาะสม

โดยจะไม่ลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหรือผู้ออกต่ำกว่าที่สามารถลงทุนได้ (Non-Investment Grade) ตราสารหนี้ที่ไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Unrated Securities) และตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structured Note) โดยกองทุนมีความเสี่ยงระดับ 3 (เสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ)

“จุดเด่นของกองทุน M-USTBILL ซึ่งมีความเสี่ยงด้านเครดิตต่ำ จากการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ  ถือเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ เพราะออกและรับรองโดยรัฐบาลสหรัฐจึงมีโอกาสต่ำมาก ในการผิดนัดชำระหนี้

อีกทั้งยังได้รับอันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสาร (Moody’s AAA, S&P AA+ และ Fitch AA+) นอกจากนี้ผลตอบแทนน่าสนใจเมื่อเทียบกับในอดีต จึงมองเป็นโอกาสเข้าลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลหลังจากที่ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเร็วในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา” นายธนโชติ กล่าว

สำหรับทิศทางค่าเงินบาทในปี 2567 มองว่ามีแนวโน้มแข็งค่า จากการที่ Fed ส่งสัญญาณจะไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติม หลังจากเศรษฐกิจโดยเฉพาะตัวเลขเงินเฟ้อชะลอตัวลง ซึ่งหาก Fed ไม่ต้องการให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงหรือเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย Fed อาจจำเป็นต้องลดอัตรานโยบายลงบางส่วน

ทั้งนี้คาดว่าอาจจะเกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2567 อย่างไรก็ตาม หากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยก่อนสหรัฐฯ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไปพร้อมกับนโยบายการคลังของรัฐบาลจะทำให้ค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าได้เช่นกัน

นอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่อาจทำให้เงินบาทอ่อนค่าเพิ่ม เช่น ภัยแล้ง ซึ่งส่งผลต่อรายได้ของภาคการเกษตรและค่าครองชีพประชาชนทั่วไป อาจทำให้ธปท. ตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย รวมถึงสงครามที่อาจทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่ปรับเปลี่ยนสัดส่วนการถือครองค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ

ดังนั้นแนวทางการบริหารอัตราแลกเปลี่ยนจะดำเนินการตามปัจจัยทางพื้นฐาน ประกอบกับปัจจัยของการเคลื่อนไหวของค่าเงิน โดยจะลดการป้องกันความเสี่ยงเมื่อค่าเงินบาทมีปัจจัยทั้งสองส่วนประกอบกันไปในทิศทางที่อ่อนค่าและเพิ่มการป้องกันความเสี่ยงเมื่อค่าเงินบาทมีปัจจัยทั้งสองส่วนประกอบกันไปในทิศทางที่แข็งค่า

กองทุน M-USTBILL เหมาะกับผู้ลงทุนที่ต้องการเน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐที่ออกโดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ในระยะเวลาประมาณ 6 เดือนขึ้นไปและผู้ลงทุนที่ต้องการกระจายการลงทุนไปต่างประเทศที่ให้อัตราดอกเบี้ยสูงและมีความเสี่ยงต่ำ ซึ่งสามารถนำไปจัดพอร์ตการลงทุนของตัวเองได้” นายธนโชติ กล่าว

สำหรับผู้ที่สนใจลงทุนสามารถจองซื้อขั้นต่ำครั้งแรกและครั้งถัดไปเพียง 1,000 บาท โดยเปิดเสนอขายครั้งแรก (IPO) ตั้งแต่วันที่ 2-7 ก.พ 67 ทั้งนี้ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน กองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวนอาจขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน และ/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรก ผู้ลงทุนสามารถขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ บลจ. เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน)  หรือที่ www.mfcfund.com

ยักษ์ลงทุน

ใส่ความเห็น