STA วางแผนเพิ่มสัดส่วนขายยาง EUDR เพิ่มอัตรากำไรขั้นต้น ชูความพร้อม
ระบบตรวจสอบย้อนกลับ พร้อมรับดีมานด์พุ่ง
บมจ.ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี หรือ STA วางแผนเร่งเพิ่มสัดส่ วนการขายยาง EUDR ต่อเดือนเป็น 50% ภายในสิ้นปีนี้ ช่วยขับเคลื่อนการเติบโตและเพิ่ มอัตรากำไรขั้นต้น หลังมีดีมานด์ต่อเนื่องจากการที่ ยุโรปเตรียมบังคับใช้กฎหมายว่ าด้วยสินค้าปลอดการตัดไม้ ทำลายป่า (EUDR) ณ สิ้นปีนี้
ชูความพร้อมด้านระบบตรวจสอบย้ อนกลับผ่านแอปพลิเคชัน Sri Trang Friends และ Sri Trang Friends Station ชี้กำหนดราคาขายได้สู งกว่ายางทั่วไปและเป็ นโอกาสของผู้ประกอบการในอุ ตสาหกรรมยางไทยที่มีความพร้อม
นายวีรสิทธิ์ สินเจริญกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ และกรรมการบริหาร บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ผู้นำธุรกิจยางธรรมชาติ ครบวงจรรายใหญ่ที่สุ ดของโลกและผู้ผลิตถุงมื อยางรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้เริ่มจัดส่งออเดอร์ยาง EUDR ซึ่งเป็นยางธรรมชาติที่ สามารถตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) แหล่งที่มาของผลผลิต
เพื่อแสดงว่าไม่ได้มาจากพื้นที่ ที่เกี่ยวข้องกับการตัดไม้ ทำลายป่าและไม่ได้อยู่ในพื้นที่ บุกรุกป่า ซึ่งปัจจุบันมีกลุ่มลูกค้าจากยุ โรปและเอเชียติดต่อสั่งซื้อยาง EUDR มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนที่ สหภาพยุโรป (อียู) จะเริ่มบังคับใช้กฎหมายว่าด้ วยสินค้าปลอดการตัดไม้ทำลายป่า หรือ EU Deforestation Regulation (EUDR) ที่จะมีผลบังคับใช้ภายในสิ้นปี นี้
ล่าสุด บริษัทฯ จึงวางแผนเพิ่มปริมาณการขายยาง EUDR โดยกำหนดเป้าหมายเพิ่มสัดส่ วนการขายยาง EUDR ต่อเดือนเป็น 50% ภายในสิ้นปี 2567 และเพิ่มสัดส่วนเป็น 80% ในปี 2568 เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2567
ที่คาดว่าจะมีสัดส่วนขายยาง EUDR ประมาณ 10% ของปริมาณการขายยางธรรมชาติ ในเดือนดังกล่าว ทั้งนี้ บริษัทฯ ตั้งเป้าปริมาณขายยางธรรมชาติ อยู่ที่ 1.5 ล้านตัน หรือเฉลี่ยเดือนละ 125,000 ตัน ในปี 2567
ทั้งนี้ ประเทศไทยถือเป็นผู้ส่ งออกยางธรรมชาติรายใหญ่ที่สุ ดของโลกและมีความพร้อมรองรั บการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่ มาของผลผลิตตามกฎหมาย EUDR ขณะที่บริษัทฯ เป็นผู้ประกอบการที่มีความพร้ อมขายยาง EUDR เชิงพาณิชย์เป็นรายแรกในอุ ตสาหกรรมยางธรรมชาติของไทย
เนื่องจากได้พัฒนาแอปพลิเคชัน “Sri Trang Friends” (ศรีตรังเพื่อนชาวสวน) และ “Sri Trang Friends Station” (ศรีตรังเฟรนด์ส สเตชัน) เพื่อรองรับการตรวจสอบย้อนกลั บแบบดิจิทัลผ่านระบบ GPS และได้ร่วมกับเกษตรกร-ผู้ค้ ายางจัดทำฐานข้อมูลที่ดิ นในการปลูกยาง
รวมถึงได้เปิดตัว “ยางมีพิกัด (GPS)” ที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับแหล่ งที่มาได้ เพื่อแสดงความพร้อมตอบรับข้ อกำหนด EUDR จากยุโรปและภูมิภาคอื่นๆ ในอนาคตไปแล้วในช่วงที่ผ่านมา
บริษัทฯ มองว่าการขายยาง EUDR เป็นโอกาสใหม่ของผู้ ประกอบการในอุตสาหกรรมยางของไทย และบริษัทฯ ที่มีความพร้อมด้ านระบบตรวจสอบย้อนกลั บบนแพลตฟอร์มดิจิทัล ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนการเติ บโตให้แก่ผลการดำเนินงานและเพิ่ มอัตราการทำกำไรขั้นต้นของ บริษั ทฯ
เนื่องจากมีดีมานด์ค่อนข้ างมากและสามารถขายได้ในราคาสู งกว่ายางปกติ และไม่ต้องอ้างอิงกับราคายาง SICOM (ราคาตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้ าประเทศสิงคโปร์) แต่อิงกั บราคายางพาราในประเทศไทยแทน
ขณะที่ภาพรวมอุตสาหกรรมยาง EUDR คาดว่าจะมีความต้ องการยางธรรมชาติจากยุโรปทั้ งทางตรงและทางอ้อมรวม 4 ล้านตันต่อปี คิดเป็นสัดส่วนราว 30% ของดีมานด์ทั่วโลก โดยปัจจุบันประเทศที่มีความพร้ อมผลิตยาง EUDR คาดว่าจะมีเพียง 3 ราย
ได้แก่ ประเทศไทย, ไอวอรี่โคสต์และอินโดนีเซี ยบางส่วน ทั้งนี้ ประเทศไทยถือเป็นผู้ผลิตยางอั นดับ 1 ของโลก หรือคิดเป็นราว 30% ของซัพพลายโลกโดยรวม ในขณะที่ไอวอรี่โคสต์และอินโดนี เซีย คาดการณ์ว่าจะสามารถซัพพลายยาง EUDR ได้ราว 7% ของซัพพลายโลก สะท้อนให้เห็นว่าซัพพลายยาง EUDR ในปัจจุบันยังไม่เพียงพอต่ อความต้องการ