NEWS

SCGD ลั่นโรงงานแผ่นปูพื้นSPC LT by COTTO รายเดียวในไทย จ่อชิงส่วนแบ่งตลาดกว่า 500 ล้านบาท

SCGD ประกาศความสำเร็จ โรงงานแผ่นปูพื้น SPC LT by COTTO รายแรกและรายเดียวในไทย เริ่มเดินการผลิต จ่อคิวชิงส่วนแบ่งตลาดกว่า 500 ล้านบาท ลุ้นไทย-อาเซียนฟื้นระยะสั้น เร่งเจรจาพันธมิตรสุขภัณฑ์-วัสดุตกแต่งพื้นผิว เดินหน้าแผนเติบโต เท่า ภายใน ปี

 บริษัทเอสซีจี เดคคอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCG Decor (SCGD) ผู้นำธุรกิจตกแต่งพื้นผิว และสุขภัณฑ์ในภูมิภาคอาเซียน เจาะกลยุทธ์เร่งแผนสร้างการเติบโต เท่าให้ได้ภายใน 5 ปี คาดการณ์ตลาดไทย-อาเซียนฟื้นตัวระยะสั้น เตรียมความพร้อมธุรกิจสุขภัณฑ์

พร้อมเร่งเจรจาจับมือพันธมิตรหลายราย รุกขยายธุรกิจวัสดุปิดผิวและตกแต่ง ล่าสุด เริ่มเดินการผลิตที่โรงงานแผ่นปูพื้น SPC LT by COTTO รายแรกและรายเดียวในไทย ชูจุดแข็งด้านซัพพลายเชนและนวัตกรรมรักษ์โลก เริ่มสตาร์ทเครื่องกำลังการผลิต 1.8 ล้านตารางเมตรต่อปี ตั้งเป้าชิงส่วนแบ่งตลาดกว่า 500 ล้านบาท 

นายนำพล มลิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทเอสซีจี เดคคอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGD เปิดเผยความคืบหน้าของกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างการเติบโตเติบโต 2 เท่า ตามเป้าหมายภายในปี 2030 ว่า

แม้ว่าเศรษฐกิจในประเทศไทยและแต่ละประเทศมีการขยายตัวไม่เป็นไปตามอัตราที่คาดการณ์ไว้  แต่บริษัทฯ ยังคงสามารถเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันด้านต้นทุนจากการผนึกกำลังทุกบริษัทภายในกลุ่มธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง

โดยอยู่ในระหว่างการเตรียมความพร้อมในการขยายธุรกิจสุขภัณฑ์ทั้งในประเทศไทยและในภูมิภาคอาเซียน เช่นเดียวกับการขยายธุรกิจวัสดุปิดผิวและตกแต่ง และสินค้านวัตกรรมหลากหลายประเภทในกลุ่ม Decor Surface Materials บริษัทฯ ยังคงเดินหน้าเจรจาความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจหลายราย ควบคู่ไปกับการศึกษาลงทุนโครงการต่างๆ

ปัจจุบัน มีโครงการที่อยู่ระหว่างการเจรจาประมาณ 5-6 โครงการ เป็นโครงการในประเทศ   1-2 โครงการ ส่วนที่เหลือเป็นโครงการร่วมลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งจะเริ่มทยอยประกาศรายละเอียดและเปิดเผยต่อไปตามขั้นตอนภายในปีนี้ เมื่อมีความชัดเจนมากขึ้น หากการเจรจาเป็นไปตามแผนในภาพรวมจะสามารถเร่งสร้างการเติบโต 2 เท่า หรือ 58,000 ล้านบาทได้ภายใน 5 ปี

ในส่วนของการเติบโตตามความต้องการของตลาด บริษัทฯ มีการลงทุนในโครงการที่สอด คล้องกับกลยุทธ์สำคัญมาโดยตลอด ทั้งโครงการขยายกำลังการผลิต การปรับปรุงประสิทธิ ภาพการผลิต การลดต้นทุนการผลิต

รวมถึงการลงทุนวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่ออนาคต อีกทั้งยังเคร่งครัดในการดำเนินโครง การต่าง ๆ ให้แล้วเสร็จตามกรอบระยะเวลาที่นำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯและที่ประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นและการใส่ใจยึดถือประโยชน์ที่มีต่อผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายโดยเฉพาะนักลงทุนและผู้ถือหุ้น

โดยมีโครงการที่อยู่ในระหว่างเดินเครื่องทดสอบการผลิตในเดือนกรกฎาคม คือ โรงงานแผ่นปูพื้น SPC LT by COTTO ภายใต้งบลงทุน 138 ล้านบาท มีกำลังการผลิต 1.8 ล้านตารางเมตรต่อปี คาดว่าจะสามารถผลิตแผ่นปูพื้น SPC ป้อนตลาดในประเทศได้หลังจากนั้น

SCGD เป็นบริษัทแรกและบริษัทเดียวที่มีสายการผลิตแผ่นปูพื้นและตกแต่งผนัง SPC ในประเทศไทยเป็นของตนเอง ตนเอง ผ่านการดำเนินการของบริษัท  SCG Ceramics หรือ COTTO ทำให้เรามีข้อได้เปรียบในเรื่องของการบริหารจัดการซัพพลายเชน ช่วยลดระยะเวลาการรอสินค้าให้สั้นลง และลดค่าขนส่งระหว่างประเทศ

นอกจากนี้ยังสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าและควบคุมคุณภาพสินค้าได้ดีกว่า สอดคล้องกับกลยุทธ์การสร้างรายได้และเติบโตจากการขยายธุรกิจวัสดุปิดผิวและตกแต่งประเภทใหม่ ๆ  โดยบริษัทฯ มีแผนที่จะผลักดันยอดขาย ด้วยการโปรโมทสินค้าภายใต้แบรนด์ COTTO ที่มีบริการติดตั้งครบวงจรจากทีมช่างคุณภาพ และขยายตลาดไปยังช่องทางอื่นนอกเหนือจากงานโครงการ B2B

เช่น ขยายช่องทางไปยัง B2C ที่เป็นค้าปลีกมากขึ้น ผ่านเครือข่ายร้านผู้แทนจำหน่ายที่เรามีทั้งหมด คาดว่าจะเพิ่มส่วนแบ่งจากตลาดแผ่นปูพื้นไวนิลระดับบน หรือ SPC/LVT ทั้งในประเทศไทย  เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ที่มีมูลค่ารวมประมาณ 8,000 ล้านบาท” นายนำพล กล่าว

ในด้านของกระบวนการผลิตแผ่นปูพื้นและตกแต่งผนัง SPC จาก LT by COTTO   บริษัทฯ ได้นำประสบการณ์และเทคโนโลยีการผลิตมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเรื่องการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการติดตั้งระบบดูดกลิ่น (Air purifier)  ระบบดักจับฝุ่น (Dust collector) ที่เกิดจากกระบวนการผลิต รีไซเคิลของเสียที่เกิดจากกระบวนกระบวนการรีด (Extrusion) 

กระบวนการตัด และการเซาะร่อง (Cutting and Slotting) นอกจากนี้ SPC เป็นสินค้าประเภทไม่ผ่านการเผา ไม่มีการใช้พลังงานจากก๊าซธรรมชาติ จึงไม่ปล่อย  CO2 เข้าสู่ชั้นบรรยากาศ 

นอกจากจะเป็นสินค้าที่ตอบโจทย์ด้านไลฟ์สไตล์และสอดรับกับเทรนด์รักษ์โลกแล้ว ยังถือว่าเป็นก้าวสำคัญในการต่อยอดความแข็งแกร่งของธุรกิจตกแต่งพื้นผิวของ SCGD เนื่องจากเป็นวัสดุปูพื้นและบุผนังประเภทใหม่ที่ให้ผลตอบแทนสูงขึ้น

“ปัจจุบันสินค้านวัตกรรมและสินค้ารักษ์โลกของ SCGD ส่วนใหญ่ยังขายอยู่ในประเทศไทยเป็นหลัก และยังมีโอกาสอีกมากที่จะนำสินค้าเหล่านี้รุกเข้าไปทำการตลาดในอาเซียน  แต่ในสถานการณ์ที่ยังคงรอตลาดฟื้นตัว

สิ่งที่เราดำเนินการ คือ ปรับแผนการดำเนินธุรกิจให้เหมาะกับสถานการณ์ตลาดในแต่ละประเทศ  โดยมุ่งเน้นการลดต้นทุน การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต  ที่สำคัญ บริษัทฯ ยังได้เร่งเจรจากับกลุ่มพันธมิตร เพื่อให้มีความคืบหน้าในเรื่องการร่วมลงทุนขยายธุรกิจสุขภัณฑ์ ธุรกิจวัสดุปิดผิวและวัสดุตกแต่งหลากหลายประเภท

ทั้งนี้ หากตลาดอาเซียนพลิกฟื้นในระยะสั้นก็จะยิ่งส่งผลดีต่อการเจรจาโครงการความร่วมมือต่าง ๆ และจะช่วยหนุนเร่งสร้างการเติบโต 2 เท่าให้เป็นไปตามแผนงานภายใน 5 ปี ได้” นายนำพล กล่าวสรุป

ใส่ความเห็น