Private Credit
FUND

บลจ.กรุงศรี ชี้ Private Credit เป็นสินทรัพย์น่าลงทุน มีแนวโน้มสร้างผลตอบแทนสูงกว่าตราสารหนี้รูปแบบเดิม

บลจ.กรุงศรี เล็งPrivate Credit เป็นสินทรัพย์น่าลงทุน จากอัตราการเติบโตสูง มีแนวโน้มสร้างผลตอบแทนสูงกว่าตราสารหนี้รูปแบบเดิม และไม่ผันผวนไปในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นและตราสารหนี้ในตลาด จึงเสนอขายกองทุนเปิดกรุงศรี Private Credit-ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย (KFPCD-UI) เสนอขายครั้งแรกตั้งแต่วันนี้ถึง 9 ก.ค. 67  ลงทุนครั้งแรกขั้นต่ำ 100,000 บาท 

นางสุภาพร ลีนะบรรจง กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด (บลจ.กรุงศรี) เปิดเผยว่า “Private Credit เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เข้ามาตอบโจทย์โอกาสในการรับผลตอบแทนที่ดี ซึ่งเป็นตราสารหนี้นอกตลาดที่เป็นแหล่งเงินทุนให้กู้แก่บริษัทเอกชน โดยผู้ให้กู้คือนักลงทุนที่ไม่ใช่ธนาคารหรือสถาบันการเงิน

ผู้ให้กู้ จะได้รับดอกเบี้ยซึ่งมักจะสูงกว่าดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารทั่วไป รวมทั้งมีการเรียกหลักประกันและกำหนดเงื่อนไขเพื่อป้องกันความเสี่ยงอีกด้วย จึงมีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่มากกว่า

นอกจากนี้Private Creditยังช่วยกระจายความเสี่ยงให้พอร์ตการลงทุนโดยรวมได้ดีกว่าโดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดผันผวนสูง เนื่องจากมีโอกาสสร้างรายได้ที่สม่ำเสมอจากดอกเบี้ยที่ได้รับ และผลตอบแทนไม่ได้มีแนวโน้มที่จะผันผวนไปในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นหรือตราสารหนี้

ทั้งนี้ ตลาดPrivate Credit ได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นและมีการเติบโตขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับการปล่อยกู้ของธนาคารสหรัฐ โดยขนาดของตลาดPrivate Credit เติบโตมากกว่า 2 เท่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา” (ที่มา : BlackRock 30 ก.ย. 64)

“บลจ.กรุงศรี มองว่าเป็นจังหวะดีของการลงทุนในPrivate Credit  จึงได้เปิดเสนอขายกองทุนเปิดกรุงศรี Private Credit-ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย (KFPCD-UI) ซึ่งบริหารโดย BlackRock ผู้จัดการกองทุนระดับโลกที่มีความเชี่ยวชาญในตลาดPrivate Credit มีประสบการณ์ที่ยาวนานกว่า 23 ปี  มีเงินลงทุนมากกว่า 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ที่มา : BlackRock 31 ธ.ค. 66)

โดยกองทุน KFPCD-UI มีนโยบายลงทุนในกองทุนอ้างอิงชื่อ  BlackRock Private Credit Fund (Institutional Shares)  มีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่เหนือกว่าตราสารหนี้ในตลาดจดทะเบียน และมุ่งสร้างกระแสเงินสดรับที่สม่ำเสมอ

โดยใช้กลยุทธ์แบบ Direct Lending คือการปล่อยกู้ทางตรง เน้นการปล่อยกู้ให้กับบริษัทขนาดกลาง(Core Middle Market) ซึ่งมีสัดส่วนการก่อหนี้ที่ต่ำกว่าบริษัทขนาดใหญ่ และเป็นบริษัทที่มีมูลค่ากิจการประมาณ 100 เหรียญถึง 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ มีการกระจาย การลงทุนในหลากหลายบริษัท

และลงทุนในอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่วัฏจักร (Non-cyclical) คือบริษัทที่มีแนวโน้มจะดำเนินธุรกิจได้ดีได้รับผลกระทบในระดับต่ำจากการเปลี่ยนแปลงของวัฏจักรเศรษฐกิจ เช่น Healthcare, Tech/Software, Business Services เป็นต้น รวมทั้งกระจายการลงทุนในอุตสาหกรรมที่มีรายได้และผลกำไรสม่ำเสมอ”

“สำหรับกลยุทธ์ Direct Lending นั้น ผู้ปล่อยกู้จะมีอำนาจต่อรองที่สูง สามารถกำหนดเงื่อนไขต่างๆเพื่อปกป้องผู้ลงทุนได้ดีกว่า มีข้อกำหนดด้านการเงินที่เข้มงวด ส่งผลให้มีการผิดนัดชำระหนี้ที่ต่ำกว่า และอัตราการได้รับชำระคืนเมื่อเกิดการผิดนัดชำระหนี้ที่สูงกว่า

นอกจากนี้ Direct Lending ยังช่วยกระจายความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนให้กับพอร์ตจากการใช้อัตราดอกเบี้ยลอยตัวทำให้ได้รับผลกระทบที่จำกัดจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย  ทั้งนี้กองทุนอ้างอิงมีการลงทุนทั้งหมดในบริษัทที่มีสินทรัพย์ค้ำประกันและส่วนใหญ่จะมีสิทธิเรียกร้องชำระหนี้คืนเป็นลำดับแรกด้วย”

“บลจ.กรุงศรี เชื่อมั่นว่าการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในกองทุน KFPCD-UI เป็นทางเลือกการลงทุนที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนรายใหญ่  กับการลงทุนในสินทรัพย์กลุ่มPrivate Credit เพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าตราสารหนี้ทั่วไป และช่วยกระจายความเสี่ยงให้พอร์ตการลงทุนโดยรวมในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนได้” นางสุภาพร กล่าว

ยักษ์ลงทุน

 

ใส่ความเห็น