‘สมาคมนักวางแผนการเงินไทย’ (TFPA) หนุนคนไทยออมก่อนใช้เพื่ อการเกษียณ
จัดเวิร์กช็อป 3 กลุ่มอาชีพ ฝึกวางแผนการเงินกับนั กวางแผนการเงิน CFP®
จัดเวิร์กช็อป 3 กลุ่มอาชีพ ฝึกวางแผนการเงินกับนั
‘สมาคมนักวางแผนการเงินไทย’ หรือ TFPA พร้อมช่วยเหลื อคนไทยวางแผนการเงินเพื่ อการเกษียณอย่างมีคุณภาพ จับมือ “กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ” และ “กองทุนการออมแห่งชาติ”
จัดกิจกรรม Workshop การวางแผนการเงิน 3 กลุ่มอาชีพ “ข้าราชการ-อาชีพอิสระ-พนั กงานประจำ” ให้ความรู้และฝึกวางแผนการเงิ นเบื้องต้นกับนักวางแผนการเงิน CFP ส่งเสริมคนไทยออมก่อนใช้ พร้อมต่อยอดเตรียมจัดกิจกรรม Financial Planning Clinic ให้คำปรึกษาวางแผนการเงิ นออนไลน์
นายวิโรจน์ ตั้งเจริญ นายกสมาคมนักวางแผนการเงินไทย (Thai Financial Planners Association – TFPA) เปิดเผยว่า ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุว่าประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้ สูงอายุอย่างสมบูรณ์ (Aged Society) แล้วในปี 2567-2568 เนื่องจากมีสัดส่วนประชากรสู งอายุ (ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป) 20% ของประชากรทั้งหมด
นอกจากนี้ยังพบว่าผู้สูงอายุที่ ไม่มีรายได้หลังเกษียณมีสัดส่ วนถึง 21.1% และมีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาทต่อปี 84.2% สอดคล้องกับผลสำรวจจากตลาดหลั กทรัพย์แห่งประเทศ ไทยพบว่าคนไทย 30% ไม่มีเงินเก็บเพื่อการเกษียณ และ 60% มีเงินเก็บไม่ถึง 200,000 บาท
จากแนวคิดที่ยังไม่ตระหนักถึ งการออมเงินไว้ใช้จ่ายในอนาคต หรือขาดความรู้ในเรื่ องการวางแผนการเงินและการลงทุน รวมถึงขาดวินัยทางการออม หากไม่เปลี่ยนพฤติกรรมอาจจะ ส่ งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสั งคมโดยรวม
สมาคมนักวางแผนการเงินไทยต้ องการส่งเสริมให้คนไทยตระหนักถึ งความสำคัญของการวางแผนการเงิ นและมีวินัยในการออม เพื่อเตรียมพร้อมก่อนการเกษี ยณตั้งแต่อายุยังน้อย จึงได้ร่วมกับกองทุนบำเหน็ จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) จัดการอบรม Workshop การวางแผนการเงินสำหรับ 3 กลุ่มอาชีพ
ได้แก่ “ข้าราชการ” “อาชีพอิสระ” และ “พนักงานประจำ” เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกั บการวางแผนการเงินในแต่ละอาชีพ โดยผู้เข้าร่ วมอบรมสามารถนำไปวางแผนการเงิ นที่เหมาะสมกับตน เองได้ เนื่องจากแต่ละอาชีพมีที่ มาของรายได้ การหักค่าใช้จ่าย ตลอดจนสวัสดิการที่แตกต่างกัน
ส่งผลให้การวางแผนการเงินมี ความแตกต่างกัน เช่น การวางแผนภาษี การวางแผนประกัน เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมนี้มีผู้เข้าร่วมจาก 3 กลุ่มอาชีพ อายุ 20-60 ปี รวม 145 คน
โดย “กลุ่มอาชีพพนักงานประจำ” นักวางแผนการเงิน CFP มีคำแนะนำเพื่อเตรียมตั วเกษียณ ได้แก่
1) การไม่พึ่งพิงรายได้ทางเดี ยวโดยหากิจกรรมที่ชอบเพื่อสร้ างรายได้ 2) ควรทำประกันสุขภาพให้เพียงพอเพื่ อรองรับชีวิตหลังการเกษียณ 3) ทำประกันบำนาญเพื่อช่วยจัดการค่ าใช้จ่ายคงที่ 4) ศึกษาและวางแผนจัดการภาษีก่ อนและหลังเกษียณ และ 5) จัดพอร์ตการลงทุนเพื่อการเกษี ยณอย่างเหมาะสม
ขณะเดียวกันแนะนำให้เริ่มต้ นวางแผนการเงินด้วยการทำบัญชี รายรับรายจ่าย ตั้งเป้าหมายเงินออม เก็บเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินอย่ างน้อย 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน วางแผนประกันภัยเพื่อปกป้ องความเสี่ยงจากค่าใช้จ่ายด้ านสุขภาพที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้ นในอนาคต
ไม่ก่อหนี้เกินตัวและรีบแก้ ไขเมื่อมีหนี้เกินตัว รวมถึงแยกหนี้ดี เช่น หนี้บ้าน-คอนโดฯ ออกจากหนี้เลวจากการซื้อสิ่ งของที่ไม่จำเป็น เริ่มต้นวางแผนเกษียณให้เร็วที่ สุด และสุดท้ายคือจัดพอร์ตการลงทุ นที่เหมาะสมและหมั่นหาความรู้ อยู่เสมอ
ทั้งนี้ ควรวางแผนลดหย่อนภาษีเพื่ อประหยัดค่าใช้จ่าย อาทิ กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) นำมาใช้ลดหย่อน ได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ หรือไม่เกิน 200,000 บาท กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ลดหย่อนได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ /กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรี ยนเอกชน ลดหย่อนได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ลดหย่อนได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท โดยทั้งหมดนี้นำมาใช้ลดหย่ อนรวมกันได้ไม่เกิน 500,000 บาท และกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยื น (Thai ESG) นำมาใช้ลดหย่อนได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้หรือไม่เกิน 300,000 บาท
นอกจากนี้ หลังจากเกษียณอายุ ควรแบ่งการลงทุนเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1. กลุ่มความเสี่ยงต่ำ มีสภาพคล่องสูง เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในระยะ 0-3 ปี เช่น เงินฝาก ตราสารหนี้ระยะสั้น คาดหวังผลตอบแทน 0.25-1.5% 2. กลุ่มความเสี่ยงต่ำ-ปานกลาง เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในอีก 4-7 ปี เช่น พันธบัตร หุ้นกู้ คาดหวังผลตอบแทน 4% 3. กลุ่มความเสี่ยงปานกลาง-สูง เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในช่วงเกิ นกว่า 7 ปีข้างหน้า
เช่น พอร์ตกองทุน คาดหวังผลตอบแทน 6% ซึ่งพอร์ตการลงทุนในกลุ่มที่ 2 และ 3 เมื่อมีอายุถึง 82 ปี และ 86 ปีตามลำดับ ให้ย้ายเงินลงทุนมายังกลุ่มเสี่ ยงต่ำทั้งหมดและคงไว้ตลอดชีวิต
ส่วน “กลุ่มอาชีพข้าราชการ” ซึ่งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความมั่ นคงอาจมีคำถามว่าทำไมยังต้ องวางแผนการเงิน จากที่สมาคมฯ ได้จัดกิจกรรม Workshop การวางแผนการเงิน พบว่ากลุ่มอาชีพข้าราชการได้มี การเตรียมพร้อมวางแผนทางการเงิ นมาระดับหนึ่ง ส่วนใหญ่เข้าใจว่าสวัสดิการที่ มีอยู่เพียงพอต่อชีวิตหลังวั ยเกษียณแล้ว แต่อาจไม่ได้นึกถึงการปกป้ องความเสี่ยงจากเหตุการณ์ที่ไม่ คาดคิด
เช่น ไม่ได้ทำประกันชีวิต เพราะเมื่อเสียชีวิตแล้วสวัสดิ การที่ได้รับก็จะสิ้นสุดไปด้วย ทำให้ครอบครัวได้รับผลกระทบเนื่ องจากขาดรายได้ ดังนั้นเพื่อให้ครอบครั วสามารถอยู่ต่อโดยไม่ลำบากจึ งจำเป็นต้องวางแผนการเงินล่ วงหน้า
นอกจากนี้ ควรฝึก 5 นิสัยเพื่อให้เก็บเงินได้รวดเร็ วขึ้น ได้แก่ เลี่ยงสร้างหนี้ ตั้งเป้าหมายการออมที่ชัดเจน ตั้งงบประมาณต่างๆ ที่จะใช้ต่อเดือน บันทึกรายรับรายจ่ายอย่างง่าย และใช้เครื่องมือทางการเงินให้ ถูกต้อง ตลอดจนควรแบ่งสัดส่วนเงินให้ชั ดเจนด้วยเทคนิค “โหล 6 ใบ” ใบแรก แบ่งเงิน 55% เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็น
ใบที่สอง 10% เพื่อเป็นเงินเก็บสำรอง ใบที่สาม 10% เพื่อพัฒนาตนเอง ใบที่สี่ 10% เพื่ออิสรภาพทางการเงิ นโดยนำไปลงทุน เช่น หุ้น กองทุน อสังหาริมทรัพย์ ใบที่ห้า 10% เพื่อให้รางวัลตนเอง และใบที่หก 5% เงินเพื่อการให้
ขณะที่ “กลุ่มอาชีพอิสระ” ซึ่งมีรายได้ไม่แน่นอน แต่มีรายจ่ายถาวร จึงให้เริ่มต้นทำรายรับรายจ่ ายล่วงหน้าอย่างน้อย 1 ปี และให้กำหนดเงินเดือนตนเองเสมื อนพนักงานประจำเพื่อให้มีวินั ยการเงินมากขึ้น มีการสร้างแผนสำรองเงินสดยามฉุ กเฉินระยะเวลา 6 เดือนถึง 1 ปี และออมเงิน 20-40% ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย วางแผนการเงินระยะยาวเมื่อต้ องใช้เงินก้อนใหญ่ และป้องกันรายจ่ายก้อนใหญ่ด้ วยประกันสุขภาพและโรคร้ายแรง
วางแผนเกษียณอายุโดยไม่ ละเลยการออมและลงทุนในสินทรัพย์ ทางการเงินที่ลดหย่อนภาษีได้ เช่น SSF, RMF นอกจากนี้ ควรเตรียมเงินเพื่อเสียภาษีให้ เพียงพอ โดยผู้ที่คาดว่าจะมีรายได้ มากกว่า 1.8 ล้านบาท ต้องเตรียมตัวยื่นคำขอจดทะเบี ยนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และหมั่นทบทวนปรับแผนการเงินอย่ างน้อยปีละ 1 ครั้ง
“หลายคนเข้าใจผิดว่าการเตรี ยมความพร้อมเพื่อการเกษียณ เป็นเรื่องของคนอายุมากหรือใกล้ เกษียณ แต่การเกษียณแบบมีความสุขต้ องอาศัยการวางแผนระยะยาวตั้งแต่ เริ่มต้นทำงาน เพราะการวางแผนเมื่อใกล้เกษียณ จะกดดันตัวเองและอาจไม่ทันการณ์ อีกด้วย ” นายกสมาคมนักวางแผนการเงิ นไทยกล่าว
นอกจากนี้ สมาคมฯ เตรียมจัดกิจกรรม Financial Planning Clinic บริการให้คำปรึกษาวางแผนการเงิ นผ่านระบบออนไลน์กับนั กวางแผนการเงิน CFP แบบรายบุคคลแก่ประชาชนที่ สนใจ โดยร่วมบริจาคเงิน 500 บาทแก่สภากาชาดไทย ซึ่งเงินบริ จาคสามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า เพื่อรับสิทธิ์รับคำปรึกษา ระยะเวลา 1 ชั่วโมง
ในวันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม 2567 แบ่งเป็น 3 รอบ ได้แก่ เวลา 9.00-10.00 น. เวลา 10.15-11.15 น. และเวลา 11.30-12.30 น. รวม 30 สิทธิ์ สามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันนี้ – 9 ตุลาคม 2567 หรือจนกว่าสิทธิ์จะเต็ม โดยแนบสลิปเงินบริจาคและเลื อกรอบเวลา
พร้อมกรอกข้อมูลผ่านแบบฟอร์มที่ https://www.surveymonkey.com/ r/9MHV5NS โดยสมาคมฯ จะแจ้งยืนยันการลงทะเบียน และช่องทางเข้าร่วมกิจกรรมทางอี เมลที่ได้ลงทะเบียนไว้ หรือสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติ มได้ทาง www.tfpa.or.th หรือ Facebook สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
ด้านนายทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์ เลขาธิการคณะกรรมการกองทุ นบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กล่าวว่า ในปัจจุบั นประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมสู งอายุอย่างสมบูรณ์ คนไทยมีอายุยืนยาวขึ้น นับว่าเป็นโจทย์ที่สำคัญของ กบข. ที่จะทำให้สมาชิกมีเงินใช้ที่ เพียงพอในวัยเกษียณ จึงได้เดินหน้าให้ความรู้การเงิ นการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ผ่านโครงการ กบข. สัญจรพบสมาชิก
ทั้งในรูปแบบ online และ offline รวมถึงการพัฒนาหลักสูตรออนไลน์ (GPF e-learning) ให้สมาชิกได้เข้าศึกษาบทเรี ยนการเงินการลงทุนผ่านช่องทาง online ของ กบข. ในครั้งนี้ กบข. ยังได้ร่วมกับสมาคมนั กวางแผนการเงินไทย จัดกิจกรรมอบรมด้ านการวางแผนการเงินจากนั กวางแผนการเงิน CFP เพื่อให้สมาชิก กบข. ได้มีโอกาสได้รับข้อมูลการบริ หารจัดการเงินอย่างเป็ นระบบจากผู้เชี่ยวชาญโดยตรง
นางสาวจารุลักษณ์ เรืองสุวรรณ เลขาธิการคณะกรรมการกองทุ นการออมแห่งชาติ (กอช.) กล่าวว่า กอช. จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.กองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554 ภายใต้การกำกับดู แลของกระทรวงการคลัง เป็นกองทุนภาคสมัครใจ ที่ส่งเสริมการออมในระยะยาวให้ กับนักเรียน นักศึกษา ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ที่มีอายุตั้งแต่ 15 – 60 ปี
สามารถออมเงินได้ตามความสมัครใจ ขั้นต่ำตั้งแต่ 50 บาท สูงสุด 30,000 บาทต่อปี และรัฐสมทบสูงสุด 100% แต่ไม่เกิน 1,800 บาทต่อปี และไม่จำเป็นต้องออมเป็ นประจำเท่ากันทุกเดือน
ทั้งนี้ กอช. ยังส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษา เริ่มออมกับกอช. ตั้งแต่อายุยังน้อย เพราะเมื่อเข้าระบบการทำงาน อาทิ เป็นข้าราชการก็จะมีกองทุ นบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) หรือ พนักงานบริษัทเอกชนมีประกันสั งคม ก็จะยังได้รับสิทธิออมเงินต่ อเนื่อง จนถึงอายุ 60 ปีบริบูรณ์ และยังออมคู่ขนานได้ เป็นกองทุนที่มีความยืดหยุ่น
ที่สำคัญรัฐบาลค้ำประกั นผลตอบแทน ให้ในอัตราไม่น้อยกว่าดอกเบี้ ยเงินฝากประจำ 12 เดือน เฉลี่ย 7 ธนาคาร และยังสามารถลดหย่อนภาษี ได้สูงสุด 30,000 บาทต่อปี นับว่า เป็นทางเลือกการออมที่คุ้มค่า
ผู้ที่สนใจสมัครเป็นสมาชิก กอช. สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น กอช. หรือทางไลน์แอด กอช. @nsf.th เพื่อตรวจสอบสิทธิและสมัครสมาชิ ก เพียงระบุเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก และหมายเลขโทรศัพท์มือถื อของตนเอง หรือสอบถามเพิ่มเติม ได้ที่สายด่วนเงินออม 02-049-9000
“เราพร้อมยกระดับชีวิตยามเกษียณ ให้กับกลุ่มอาชีพอิสระ ได้มีความมั่นคงในชีวิต ด้วยการบูรณาการความร่วมมือกั บหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สร้างความตระหนักรู้ในการออมเงิ น ยกระดับการเรียนรู้วิถีใหม่ ในโลกยุคดิจิทัล อันจะนำไปสู่การลดความเลื่อมล้ำ ในสังคม
ให้ประชาชนเตรียมพร้อมเข้าสู่วั ยเกษียณอย่างมีคุณภาพ เพื่อมีรายได้และชีวิตความเป็ นอยู่ที่ดี อีกทั้งยังช่วยแบ่ งเบาภาระงบประมาณของภาครั ฐในการดูแลผู้สูงอายุได้อีกด้ วย” นางสาวจารุลักษณ์ กล่าว