KKP Research เผยผลเลือกตั้งสหรัฐฯ ต่อไทย นัยยะไม่แตกต่าง การกีดกันการค้ามาแรง ส่งออกเสี่ยงกระทบ
Key takeaways
- ประเทศไทยอาจได้รับผลกระทบอย่
างมีนัยสำคัญจากนโยบายการค้ าของสหรัฐฯ ที่มีต่อจีนและประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก เนื่องจากมีการพึ่งพาการค้ าและการลงทุน -
หากสหรัฐฯ ขึ้นภาษีตามที่ผู้สมัครรับเลื
อกตั้งอย่างทรัมป์ได้เสนอไว้ ผลกระทบต่อการค้าและการลงทุ นอาจมีมาก การขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ต่อทุกสินค้านำเข้าจะส่ งผลในทางลบต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวม
ใครชนะก็แทบไม่ต่างกันสำหรับไทย
อีกหนึ่งเหตุการณ์สำคัญส่งท้ ายปีนี้สำหรับเศรษฐกิจไทย คือการเลือกตั้งประธานาธิบดี สหรัฐอเมริกา ที่เกือบจะเป็นนัดล้างตาระหว่าง “โดนัลด์ ทรัมป์” จากรีพับลิกันและ “โจ ไบเดน” จากเดโมแครต แต่เพียง 3 เดือนก่อนการเข้าคูหากาบัตร ไบเดนไปต่อไม่ไหว ส่งไม้ต่อให้กับ “กมลา แฮร์ริส” รองประธานาธิบดีคนปัจจุบัน
แม้ว่าโดยผิวเผินการเลือกตั้ งในครั้งนี้ดูเหมือนว่าทั้ งสองฝ่ายจะมีจุดยืนกันคนละฝั่ง โดยเฉพาะนโยบายเศรษฐกิจการค้ าระหว่างประเทศ แต่เมื่อพิจารณาดูแล้ว ผลกระทบต่อเศรษฐกิ จและตลาดการเงินทั่วโลก รวมถึงไทย อาจจะไม่ต่างกันมากนัก
KKP Research จะมาวิเคราะห์ว่ าทำไมการเลือกในครั้งนี้อาจเป็ นเหตุการณ์สำคัญที่จะเปลี่ ยนโฉมเศรษฐกิจโลกมากขึ้นไปอีก และไม่ว่าจะใครจะชนะก้าวขึ้ นมาเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนต่อไป ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอาจจะไม่ แตกต่างกันนัก จากนโยบายการค้าที่หันมากีดกั นคู่ค้ามากขึ้น ต่างกันเพียงแค่ดีกรีว่าจะกีดกั นมากหรือน้อย
โลกาภิวัตน์ไม่เหมือนเดิม
หลายคนมักตั้งคำถามว่า ทำไมจู่ ๆ หลายประเทศในโลกเสรี โดยเฉพาะสหรัฐฯ หันมาขึ้นภาษีนำเข้าและกีดกั นทางการค้ามากขึ้น ทั้งที่เศรษฐศาสตร์ 101 มักมีข้อสรุปที่ว่า “การค้าเสรี” เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิ จโลกในภาพรวมมากกว่าและทุ กประเทศจะได้ผลประโยชน์จาก การค้ าไปด้วยกัน
แต่การกีดกันทางการค้าที่มากขึ้ น สาเหตุหลักคงเป็ นเพราะกระแสโลกาภิวัตน์แบบเดิ มกำลังหันกลับมาสร้างต้นทุ นมหาศาลต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ เองที่ในช่วงที่ผ่านมาสูญเสียส่ วนแบ่งในภาคการผลิตให้แก่ ประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะจีน และทำให้การจ้ างงานของแรงงานในภาคการผลิตสหรั ฐฯ หดตัวลงอย่างต่อเนื่องหลังปี 2000
จนเมื่อถึงจุดหนึ่งที่ประโยชน์ จากการค้าเสรีไม่สามารถชดเชยกั บการจ้างงานที่หายไป ความไม่พอใจของกลุ่มแรงงานได้ก่ อตัวขึ้น ลุกลามไปยังภาคการเมือง ทำให้นโยบายทางการเมืองไม่มี ทางเลือกอื่นนอกจากหันมาเน้ นภาคการผลิตและการจ้ างงานในประเทศ
นี่คือที่มาว่าทำไมสหรัฐฯ จึงพยายามออกแบบนโยบายเพื่ อนำการลงทุนกลับมาในประเทศตั วเองและออกนโยบายกีดกันทางการค้ า นอกจากนี้ ยังมีประเด็นความขัดแย้งทางภูมิ รัฐศาสตร์หรือการเมืองระหว่ างประเทศกับประเทศอื่นอย่างจีน รัสเซีย อิหร่าน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญให้ กระแสโลกาภิวัตน์ไม่สามารถกลั บไปเป็นแบบเดิมได้
เลือกตั้งในครั้งนี้ ไม่ว่าใครจะชนะ เรามีโอกาสค่อนข้างสูงที่จะไม่ เห็นการค้าโลกและกระแสโลกาภิวั ตน์กลับไปเติบโตรุ่งเรื องแบบในอดีต เพราะสหรัฐฯ กำลังจะไม่สนใจโลกาภิวัตน์ แบบเดิมอีกต่อไปแล้ว ทั้งพรรคเดโมแครตและพรรครีพับริ กันเองต่างมีนโยบายที่กีดกั นทางการค้าและการลงทุนกั บประเทศอื่นทั้งคู่ ต่างกันเพียงแค่รายละเอี ยดและเครื่องมือที่ใช้เท่านั้น
โดยทรัมป์จะมุ่งเน้นไปที่การขึ้ นภาษีนำเข้าต่อประเทศคู่ค้าในทุ กสินค้า ขณะที่แฮร์ริสอาจสานต่ อนโยบายของไบเดน กล่าวคือการกีดกันการเข้าถึ งเทคโนโลยีและใช้การขึ้นภาษี นำเข้าต่อสินค้าสำคั ญในบางประเภทเท่านั้น ซึ่งแนวโน้มนี้จะมีผลกระทบค่ อนข้างมากต่อกลุ่มประเทศในอาเซี ยน
เพราะส่วนใหญ่เป็นเศรษฐกิจที่มี การพึ่งพาการค้าโลกในสัดส่วนสู งเพื่อสร้างการเจริญเติ บโตทางเศรษฐกิจ หากการค้าโลกมีความเสี่ยงที่ ชะลอตัวลงอาจทำให้แรงกดดันต่ อเศรษฐกิจในภูมิภาคเพิ่มสูงขึ้ นในระยะยาวได้
นโยบายทรัมป์ ‘ปั่นป่วน’ การค้าโลก
แม้ว่าทั้งสองพรรคมีแนวโน้มที่ จะหันหลังให้กับการค้ าโลกแบบเสรีมากขึ้น และหันไปเน้นการผลิตภายในประเทศ แต่นโยบายของทรัมป์ที่จะขึ้นอั ตราภาษีนำเข้า 60% ต่อสินค้าจากจีน และ 10% กับทุกสินค้าที่มาจากประเทศอื่ นทั่วโลก อาจเร่งให้การค้าโลกหดตัวเร็ วกว่าที่คาดและจะส่งผลกระทบอย่ างมีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิ จไทยโดยเฉพาะในด้านการค้ าและการลงทุนจากต่างประเทศ
KKP Research ประเมินว่ าผลกระทบจากนโยบายการขึ้นภาษี นำเข้าของทรัมป์มี 5 ด้านสำคัญ คือ
1.ผลกระทบทางตรงจากภาษีนำเข้า 10%
(Tariff effect) การขึ้นภาษี 10% ต่อสินค้านำเข้าสหรัฐฯ จะทำให้มูลค่าการส่งออกไทยเผชิ ญกับความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสหรัฐฯ เป็นตลาดสำคัญที่สุดสำหรับสินค้ าส่งออกของไทย สะท้อนผ่านสัดส่วนการส่งออกที่ เพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมาจากเดิ มที่ 10% ในปี 2010 เป็น 17.5% ของการส่งออกทั้งหมดในปี 2023
นอกจากนี้ การที่ดุลการค้าของไทยไม่ได้ ขาดดุลมากกว่านี้ส่วนหนึ่ งเพราะตลาดสหรัฐฯ สามารถรองรับสินค้าส่ งออกจากไทยได้มากขึ้น ทำให้ไทยมีการเกินดุลทางการค้ ากับสหรัฐฯ สูงขึ้นถึง 6% ของ GDP แต่หากดุลการค้าไทยไปยังสหรัฐฯ ลดลงจากภาษีนำเข้าที่สูงขึ้ นอาจทำให้ดุลการค้ าโดยรวมไทยขาดดุลเพิ่มขึ้นไปอีก
2.การเบี่ยงเบนทางการค้าผ่ านตลาดอาเซียน (Trade diversion)
ประโยชน์ส่วนหนึ่งที่ไทยอาจได้ รับคือหากสหรัฐฯ ปรับขึ้นภาษีนำเข้าจากจีนเป็น 60% ซึ่งอาจทำให้ผู้ประกอบการในสหรั ฐฯ หันมานำเข้าสินค้าจากตลาดอื่ นในสัดส่วนที่มากขึ้น เช่น อาเซียนที่มีอัตราภาษีนำเข้าที่ ต่ำกว่า ซึ่งไทยอาจจะยังได้ประโยชน์ จากการเบี่ยงเบนทางการค้าในส่ วนนี้
อย่างไรก็ตาม การเบี่ยงเบนทางค้าอาจเป็ นดาบสองคมเพราะมีความเสี่ยงที่ จีนจะใช้ไทยเป็นเพียงช่องทางผ่ านของสินค้าจีนไปยังสหรัฐฯ เท่านั้น (Re-routing) ซึ่งกิจกรรมนี้สร้างมูลค่าเพิ่ มในภาคการผลิตในประเทศไทยน้ อยมาก และยังเสี่ยงกับการถู กมาตรการตอบโต้อื่น ๆ จากสหรัฐฯ อีกด้วย
3.การโยกย้ายการลงทุนจากต่างชาติ เข้ามาในประเทศ (Relocation)
เช่นเดียวกับการได้ประโยชน์ บางส่วนจากการเบี่ยงเบนทางการค้ า หากความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ กับจีนยังคงอยู่ในระดับสูงต่ อเนื่องจะทำให้บริษัทข้ามชาติต่ าง ๆ มีการกระจายความเสี่ยงในด้ านการลงทุนและห่วงโซ่อุ ปทานมากขึ้น และไทยเองอาจยังได้รับอานิสงค์ จากการโยกย้ายการลงทุนจากต่ างประเทศโดยเฉพาะจากประเทศจีน
อย่างไรก็ตาม ในระยะสั้นอาจเห็นเม็ดเงินลงทุ นชะลอตัวเพราะความไม่แน่ นอนของเศรษฐกิจโลกอาจเพิ่มสูงขึ้ นจากสงครามการค้า และประโยชน์ที่ไทยจะได้รั บในระยะยาวผ่านช่องทางนี้ อาจน้อยกว่าประเทศอื่น ๆ โดยส่วนหนึ่งเป็นเพราะปั ญหาความสามารถในการแข่งขั นของไทยเอง
4.ปัญหาสินค้าจีนทะลักรุนแรงมากขึ้ น (China dumping)
หากสหรัฐฯ ปรับขึ้นภาษีนำเข้ากับจีนเพิ่ มขึ้น จะทำให้มีความเสี่ยงที่อุปสงค์ ในจีนชะลอตัวลงแรงยิ่งขึ้น และอุปทานส่วนเกินในจีนไม่ สามารถระบายไปยังตลาดสหรัฐฯ ได้ง่ายนัก ทำให้สินค้าต่าง ๆ จะถูกนำมาขายในตลาดอื่นๆ โดยเฉพาะในอาเซียน
รวมทั้งไทยมากขึ้นไปอีก ซึ่งสินค้าที่ทะลักเข้ามาจะยิ่ งทำให้ผู้ผลิตในไทยเผชิญกั บการแข่งขันจากสินค้าราคาถู กจากจีนมากยิ่งขึ้น และเสี่ยงทำให้ผู้ผลิตในไทยไม่ สามารถแข่งขันได้ ต้องลดปริมาณการผลิตลงต่อเนื่ องหรือปิดตัวโรงงาน
5.ค่าเงินในภูมิภาคเสี่ยงอ่อนค่ าเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ
ค่าเงินในภูมิภาคเอเชียอาจมี แนวโน้มปรับอ่อนค่าเทียบกั บดอลลาร์สหรัฐฯเพื่อชดเชยกับอั ตราภาษีนำเข้าที่ถูกปรับขึ้น หากย้อนกลับไปดูในช่ วงสงครามการค้า (Trade war) ในปี 2018 ระหว่างสหรัฐฯ และจีนจะเห็นได้ว่า ค่าเงินบาทปรับอ่อนค่าตามดัชนี ดอลลาร์หลังจากที่ทรัมป์ ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าต่อจีน
แต่ในช่วงเวลาดังกล่าวสาเหตุหลั กที่ค่าเงินบาทปรับแข็งค่าหลั งจากนั้นเป็นเพราะไทยยังได้รั บอานิสงค์จากนักท่องเที่ยวจีนที่ พอจะช่วยสนับสนุนให้ค่าเงิ นบาทกลับมาแข็งค่าได้
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันทั้งดุลการค้าที่เผชิ ญกับปัญหาความสามารถในการแข่งขั นและภาษีนำเข้าที่จะสูงขึ้น รวมไปถึงดุลบริการไม่กลับไปสูงแบบในอดีต จะทำให้ค่าเงินบาทมีความอ่ อนไหวต่อทิศทางของดอลลาร์ และภาษีนำเข้าสูงขึ้นกว่าในอดีต
จับตาอุตสาหกรรมไหนรับศึกหนัก
ภายใต้การนำของรองประธานาธิบดี แฮร์ริส คาดว่าการดำเนิ นนโยบายตามสถานะเดิมจะส่ งผลกระทบไม่มากนักต่อเศรษฐกิ จและตลาดการเงินไทยโดยรวม อย่างไรก็ตาม ในกรณีของประธานาธิบดีทรัมป์ ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิ จไทยจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่ าง ๆ โดยเฉพาะนโยบายด้านการค้า คาดว่าจะมีดังนี้
สินค้าส่งออกของไทยที่สหรั ฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกหลัก เช่น อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และคอมพิวเตอร์ มีความเสี่ยงที่จะถูกปรับขึ้ นภาษีนำเข้าและอาจถู กมาตรการตอบโต้เพิ่มเติมจากสหรั ฐฯ เพราะอาจเป็นอุตสาหกรรมที่จี นใช้ไทยเป็นช่องทางผ่านเพื่อส่ งสินค้าไปยังสหรัฐฯ
นิคมอุตสาหกรรมน่าจะเป็นผู้ได้ รับประโยชน์หลักจากประเด็นการย้ ายถิ่นฐานในระยะยาว แต่ประโยชน์ในระยะสั้นจะถูกบดบั งด้วยความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิ จที่สูง
การท่องเที่ยว ปิโตรเคมี และบรรจุภัณฑ์มีความเสี่ยงสู
ภาคการผลิต เช่น เหล็กและเหล็กกล้า เฟอร์นิเจอร์ สารเคมี และยานยนต์ รวมถึง SMEs จำนวนมากในธุรกิจค้าส่งและค้ าปลีกมีความเสี่ยงสูงจากการแข่ งขันนำเข้าจากจีน ซึ่งอาจส่งผลต่อเนื่องไปถึ งภาคการเงินที่มีความเสี่ยงต่ อภาคธุรกิจเหล่านี้สูง ที่อาจจะต้องเผชิญกับคุณภาพสิ นเชื่อและคุณภาพเครดิตที่มี แนวโน้มด้อยลงในอนาคต
ความเสี่ยงต่อทางเศรษฐกิ จในระยะยาว
ความเสี่ยงต่อเศรษฐกิ จไทยจากการค้าของโลกที่กำลั งเปลี่ยนไปเป็น Protectionism มากขึ้น กำลังก่อตัวขึ้นในช่วงที่ เศรษฐกิจไทยกำลังเผชิ ญเปราะบางจากปัญหาเชิงโครงสร้ างระยะยาว เช่น หนี้ครัวเรือน สังคมสูงวัย ความสามารถในการแข่งขัน หากดุลการค้าไทยขาดดุลต่อเนื่อง
ภาคการส่งออกไม่สามารถเป็นแหล่ งระบายสินค้าจากการผลิตในภาคอุ ตสาห กรรมไทยได้ อาจทำให้การจ้างงานในภาคอุ ตสาหกรรมไทยลดลงหรืออัตราว่ างงานเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีผลอย่างยิ่งต่อรายได้ และงบดุลของครัวเรือนไทยที่กำลั งเปราะบางอยู่แล้ว และอาจทำให้ปัญหาหนี้ในปัจจุบั นเป็นปัญหาหนักขึ้นไปอีก
นโยบายภาครัฐจึงควรมีการเตรี ยมพร้อมที่จะรองรับผลกระทบที่ อาจเกิดขึ้นจากแนวโน้มของภูมิทั ศน์การค้าโลกที่กำลังเปลี่ยนไป เพื่อไม่ให้ปัญหานี้ลุกลามไปยั งครัวเรือนไทยในวงกว้าง อนึ่ง แนวทางของนโยบายการค้าไทยแบบเดิ มที่มุ่งเน้นการเจรจาข้ อตกลงทางการค้าและ เปิ ดตลาดโดยการเจรจาเรื่ องการลดภาษีนำเข้าอาจใช้ไม่ได้ ผลอีกต่อไป
เพราะอัตราภาษีนำเข้าในปัจจุบั นก็ลดลงมาอยู่ในระดับต่ำมากแล้ว การมุ่งเน้นไปที่การสร้างมูลค่ าเพิ่มให้กับสินค้าไทยและการดู แลไม่ให้เกิดการแข่งขันแบบไม่ เป็นธรรมจึงเป็นเรื่องที่สำคั ญมากในการออกแบบนโยบาย