“แอล ดับเบิลยู เอสฯ” ระบุ 3 เมกะเทรนด์ในการพัฒนาอสังหาฯ ปี 2568
“แอล ดับเบิลยู เอสฯ” ระบุสุขภาวะที่ดี (Well-Topia), การออกแบบที่ ตอบโจทย์คนทุกวัย (Universal Design), และเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่ งแวดล้อม (Technology & Environment) เป็น 3 เทรนด์สำคัญในการพัฒนาอสังหาฯ ปี 2568
นายประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล ดับเบิลยู เอส วิสดอม แอนด์ โซลูชั่นส์ จำกัด บริษัทวิจัยและพัฒนาอสังหาริ มทรัพย์ในเครือ บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงแนวโน้มการพัฒนาอสั งหาริมทรัพย์ในปี 2568 ว่า
ปี 2568 เป็นปีของการเปลี่ยนแปลงภูมิทั ศน์ในการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่มี นัยสำคัญที่เกิดจากการเปลี่ ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของโลก ที่ส่งผลต่อการอยู่อาศั ยของประชากร ประเทศไทยอยู่ระหว่างการรับฟั งความคิดเห็นเกี่ยวกับกฏหมายว่ าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ อากาศ
ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในปี 2568 – 2569 และปี 2568 เป็นการขับเคลื่อน Thailand Taxonomy ในระยะที่สอง ซึ่งภาคอสังหาฯ และการก่อสร้างเป็นภาคอุ ตสาหกรรมที่อยู่ในกลุ่มนี้ ผนวกกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้ างประชากรของโลกที่หลายประเทศก้ าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ รวมทั้งประเทศไทยที่องค์ การสหประชาชาติคาดว่ าประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้ สูงอายุระดับสุดยอด
คือมีสัดส่วนของประชากรผู้สู งอายุ(อายุเกิน 60 ปี) เกิน 20% ของจำนวนประชากรของประเทศในปี 2573 โดยปัจจุบันประชากรสูงอายุ ของไทยคิดเป็นสัดส่วนถึง 18.3% ของจำนวนประชากรทั้งหมด หมายถึงประเทศไทยก้าวเข้าสู่สั งคมผู้สูงอายุแล้ว ถึงแม้จะยังไม่ถึงระดับสุดยอดก็ ตาม
นอกจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ อากาศ โครงสร้างประชากรที่เปลี่ ยนแปลงไปแล้ว การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่เกิ ดขึ้นเร็ว และมีผลต่อการใช้ชีวิตของผู้ คนในปัจจุบันโดยเฉพาะเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence)
ที่สร้างฉากทัศฯใหม่ในการใช้ ชี วิตของผู้คน ทั้งด้านการทำงานและความเป็นอยู่ รวมไปถึงความขัดแย้งทางภูมิรั ฐศาสตร์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกมาตั้ งแต่ปี 2566 ถึงปัจจุบัน และคาดว่าจะต่อเนื่องไปในปี 2568
ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการขับเคลื่ อนนโยบายทางเศรษฐกิจและการเมื องของแต่ละประเทศ ยังไม่นับรวมถึงความไม่แน่ นอนทางการเมื องภายในประเทศไทยเอง ที่อาจส่งผลกระทบกับกับการขั บเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปี 2568
“จากปัจจัยต่างๆ ทำให้ปี 2568 เป็นอีกปีที่ท้าทายของทุกภาคธุ รกิจในการขับเคลี่อนองค์กรให้ สามารถยืนอยู่บนคลื่นของการเปลี่ ยนแปลงที่เกิดขึ้นรวมทั้งภาคอสั งหาริมทรัพย์ ที่ต้องปรับตัวพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการให้ตอบโจทย์กับความต้ องการของผู้บริโภคที่เปลี่ ยนแปลงไปท่ามกลางบริบทใหม่ที่ เกิดขึ้นทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อที่จะได้ยืนอยู่เหนือคลื่ นของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
และจากปัจจัยต่างๆ LWS เปิด 3 เมกะเทรนด์สำคัญในการพัฒนาที่ อยู่อาศัยในปี 2568 ประกอบด้วย การพัฒนาที่อยู่อาศัยโดยคำนึงถึ งสุขภาวะที่ดี (Well-Topia), การออกแบบเพื่อคนทุกวัย( Universal Design) และการออกแบบโดยใช้ เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่ งแวดล้อม (Technology & Environment)” นายประพันธ์ศํกดิ์ กล่าว
การพัฒนาที่อยู่อาศัยโดยคำนึงถึ งสุขภาวะที่ดี (Well-Topia) เป็นแนวทางในการพัฒนาโดยคำนึงถึ งการออกแบบที่ให้ความสำคัญกั บเรื่องของการอยู่อาศัยเพื่อสุ ขภาวะที่ดี ทั้งการเลือกใช้วัสดุ และการออกแบบที่ดี ต่อสุขภาพ รวมไปถึงการสร้างชุมชน (Community) เพื่อตอบโจทย์การอยู่อาศัยรวมกั นของคนทุกวัยโดยเฉพาะสำหรับผู้ สูงอายุ ภายใต้แนวคิด “สูงวัยอย่างมีสุขภาวะที่ดี”
โดยองค์ประกอบสำคั ญในการออกแบบโครงการต้ องประกอบด้วย พื้นที่สีเขียวที่เพียงพอ, สวนขนาดเล็ก (Pocket Park), พื้นที่พักผ่อนของผู้สูงวัย (Senior Playground), ใกล้แหล่งร้านค้าสะดวกต่อการเดิ นทาง, มี AI ช่วยตรวจสอบความปลอดภัยในเส้ นทางการเดิน และมีบริการทางการแพทย์ที่รอบด้ าน
รวมไปถึงการพัฒนาระบบรั กษาความปลอดภัยที่ทำงานร่วมกั นระหว่างเจ้าหน้าที่รั กษาความปลอดภัยและเทคโนโลยี แบบ 24 ชั่วโมงใน 7 วัน และออกแบบพื้นที่การอยู่อาศั ยโดยเฉพาะในพื้นที่ส่วนกลางที่ ตอบโจทย์กับคนทุกเพศและทุกวัย ตอบโจทย์กับสังคมที่มี ความหลากหลายทางเพศ เพื่อสร้างสุขภาวะที่ดีในการอยู่ อาศัยแบบ 360 องศา
การออกแบบสำหรับคนทุกวัยเพื่ อความยั่งยืนในการอยู่อาศัย (Universal Design for Sustainable living) ปัจจุบันความหลากหลายทางเพศได้ รับการยอมรับในสังคมมากขึ้น ผนวกกับโครงสร้างประชากรที่เปลี่ ยนแปลงไป ทำให้แนวทางการออกแบบที่อยู่ อาศัยในปัจจุบันต้องให้ความสำคั ญกับการออกแบบเพื่อคนทุ กเพศและทุกวัย
เพื่อการอยู่อาศั ยอย่างยั่งยืน เช่น การสร้างป่าในเมือง (Urban Forest), อาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้ อม, แหล่งพลังงานสะอาด และกลยุทธ์การลดขยะ การเกษตรในเมือง และสวนชุมชนจะกลายเป็นที่ นิ ยมมากขึ้น
รวมถึงการนำธรรมชาติเข้ามาในพื้ นที่อยู่อาศัย เช่น การใช้พืชประดับ การออกแบบให้มีแสงธรรมชาติส่ องเข้ามาได้มากขึ้น ทำให้ผู้คนรู้สึกใกล้ชิดกั บธรรมชาติ โดย Biodiversity Net Gain คือการเพิ่มความหลากหลายทางชี วภาพ เป็นแนวทางใหม่ที่ผสมการอนุรั กษ์เข้ากับการพัฒนาโครงสร้างพื้ นฐาน
ในขณะเดียวกัน พื้นที่ใช้งานในแต่ละพื้นที่ต้ องมีความยืดหยุ่น และหลากหลาย (Multifun ctional Spaces) เช่น ห้องทำงานสามารถปรับเป็นห้องนอน หรือพื้นที่กลางแจ้งที่ สามารถใช้เป็นพื้นที่พบปะสั งสรรค์ได้ รวมไปถึงความยืดหยุ่นทางด้ านเวลาใช้งานด้วย
เช่น Fitness 24 ชม., Co-Working 24 ชม. รวมไปถึงการออกแบบที่อยู่อาศั ยให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ทั้ งคนและสัตว์เลี้ยง เพื่อตอบโจทย์กับพฤติกรรมการอยู่ อาศัยของผู้คนในปัจจุบันที่ให้ความสำคัญกับสั ตว์เลี้ยงมากขึ้นในแบบของ Pet-Parent
การออกแบบโดยใช้เทคโนโลยีที่เป็ นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Technology & Envi ronment) ปัจจุบันผู้คนให้ความสำคัญกั บการอยู่อาศัยที่ใช้เทคโนโลยี เข้ามามีส่วนช่วยให้การใช้ชีวิ ตสะดวกสบายมากขึ้น และในขณะเดียวกันต้องเป็ นเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่ งแวดล้อม ถือเป็นความรับผิดชอบต่อส่วนรวม
โดยเฉพาะในภาวะที่ประเทศไทยกำลั งขับเคลื่อนสู่การเป็นประเทศที่ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำตามข้ อตกลงปารีส หรือ COP 21 ที่ลงนามร่วมกัน 197 ประเทศในปี 2558 – 2559 เพื่อลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก เพื่อให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นไม่ เกิน 1.5 องศา ในปี 2570
ภายใต้แนวโน้มดังกล่าว การพัฒนาที่อยู่อาศัยในปี 2568 ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึ งการออกแบบ การเลือกวัสดุ การก่อสร้าง รวมไปถึงการอยู่อาศัยที่ต้ องลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรื อนกระจก รวมไปถึงการลดปริมาณขยะในทุกขั้ นตอนของกระบวนการทำงาน
กล่าวคือ การออกแบบควรออกแบบโดยคำนึงถึ งการลดการใช้พลังงานในอาคาร การเลือกวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่ งแวดล้อม รวมไปถึงการนำเทคโนโลยีที่ ประหยัดพลังงานมาใช้ในพื้นที่ อาคาร
เช่น การนำเทคโนโลยี Solar Cell มาใช้ในพื้นที่ส่วนกลาง เพื่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และลดค่าใช้จ่ายในระยะยาว, ติดตั้งจุด EV Charger พร้อมกับสนับสนุนการมี สิ่งแวดล้อมที่ดีกับการมีจุดคั ดแยกขยะ
จากการสำรวจของ LWS เมื่อเดือนตุลาคม 2567 จากจำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม 670 คน พบว่า ผู้สนใจซื้ออาคารชุดให้ความสำคั ญกับสิ่งแวดล้อม โดยแบ่งเป็นกิจกรรมที่อยากให้มี ในโครงการคือ 38% ของผู้ตอบแบบสอบถามต้องการให้มี การคัดแยกขยะ
ถัดมา 32% ต้องการให้โครงการใช้พลั งงานไฟฟ้าจาก Solar Cell เข้ามาทดแทนการไฟฟ้าในพื้ นที่ส่วนกลาง และทุกกิจกรรมที่กล่าวมา เป็นการก้าวไปสู่เป้าหมาย Net Zero ในปี พ.ศ. 2608
นอกจากนี้ การนำเทคโนโลยีการอยู่อาศัยที่ ตอบโจทย์กับการใช้ชีวิ ตของคนหลากหลายเพศและวั ยในโครงการเป็นสิ่งจำเป็นสำคัญ การเปลี่ยนผ่านประเทศไปสู่ การเป็นสังคมผู้สูงอายุ โดยการนำเทคโนโลยี IoT เพื่อผู้สูงอายุมาใช้ อาทิ Home Automation, ระบบแจ้งเตือน, ระบบกล้อง ฯลฯ ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจของ LWS โดยพบสัดส่วนความต้ องการเทคโนโลยีภายในที่อยู่อาศั ยของกลุ่มผู้สูงอายุมากถึง 70%
ในขณะที่กลุ่มอื่นๆ เฉลี่ย 60% ซึ่งเป็นข้อบ่งชี้ที่สำคัญสำหรั บพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป แต่รายละเอียดการใช้งานต้ องกระชับ เข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน ซึ่งปัจจุบันผู้ประกอบการหลายธุ รกิจเริ่มปรับตัว
อย่างธุรกิจพัฒนาอสังหาฯ ที่ใส่ใจตั้งแต่การออกแบบด้วย Universal Design มีเทคโนโลยี IoT ภายในที่อยู่อาศัย รวมถึงงานบริการ เช่น รถรับ-ส่งโรงพยาบาลใกล้เคียง, ดูแลผู้สูงอายุ เป็นต้น เพื่อตอบโจทย์ความต้องการ
“ทั้ง 3 เมกะเทรนด์ เป็นสิ่งที่เริ่มเกิดขึ้นมาตั้ งแต่ปี 2567 และ จะมีความชัดเจนมากขึ้นในปี 2568 ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่เกิ ดขึ้นในหลายมิติทั้งในระดั บโลกและระดับประเทศ LWS มั่นใจว่า บริษัทอสังหาฯ ที่ปรับตัวได้ก่อน จะสามารถขึ้นไปอยู่เหนือคลื่ นของการเปลี่ยนแปลงได้สำเร็จ” นายประพันธ์ศักดิ์ กล่าว